อาการตั้งครรภ์ ไม่ใช่แค่แพ้ท้อง !!
อาการตั้งครรภ์
สำหรับสาวๆที่คิดว่าการตั้งครรภ์นั้นมักจะมีการขาดประจำเดือนมาก่อน และตามด้วยอาการตั้งครรภ์อื่นๆ อาการของคนตั้งครรภ์แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน มากบ้างน้อยบ้าง ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการ และอาการที่พบบ่อยได้แก่
อาการตั้งครรภ์ทั่วไป คือ ขาดประจำเดือน
ส่วนใหญ่เกือบทั้งร้อยจะสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ต่อเมื่อประจำเดือนไม่มา หรือประจำเดือนเลื่อนออกไป บางท่านอาจจะมีเลือกออกกระปริดกระปอยในช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก แต่เลือดจะออกไม่มากเหมือนตอนมีประจำเดือน แต่สำหรับท่านที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ท่านอาจจะมีการตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว คงต้องอาศัยการสังเกตอาการตั้งครรภ์อื่นๆร่วมด้วย
**หากยังไม่มั่นใจว่าท้องรึเปล่า ไปเช็ค >>
คลิ๊ก !!
อาการแพ้ท้อง
อาการคลื่นไส้อาเจียนหรือที่เรียกว่าอาการแพ้ท้อง เป็นอาการตั้งครรภ์อีกอย่างหนึ่งที่มักเกิดในระยะแรกของการตั้งครรภ์ โดยมากจะเกิดในช่วง 2-8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ พอเข้าสู่ไตรมาสสองอาการแพ้ท้องจะหายไป บางท่านอาจจะแพ้กลิ่นหรืออาหารบางประเภท เชื่อว่าอาการแพ้ท้องเกิดจากการที่ร่างกายของผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์ มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง จึงทำให้กระเพาะอาหารมีการบีบตัวน้อยลง อาการของอาการแพ้ท้องมีอะไรบ้าง
- คลื่นไส้อาเจียนหลังจากดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร
- น้ำหนักลด
- ขาดน้ำ
- ปัสสาวะสีเข้ม
- เกลือแร่ในร่างกายอาจผิดปกติ
การดูแลตัวเองกรณีที่มีอาการไม่มาก
- รับประทานอาหารว่างที่มีโปรตีนสูง
- งดอาหารที่มีไขมันหรือใยอาหารสูงรับประทานอาหารที่มีแป้งสูง
- ให้รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆ
- ให้รับประทานอาหารบนเตียงตอนตื่นนอนเนื่องจากการเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
- เลือกรับประทานอาหารที่มีรสชาติดีหน่อย
- อย่าให้ท้องว่างเพราะท้องว่างจะทำให้เกิดคลื่นไส้อาเจียน
- หลีกเลี่ยงกลิ่นฉุนๆ
- งดดื่นน้ำผลไม้ กาแฟ แอลกอฮอล์ระหว่างรับประทานอาหาร
- ดื่มน้ำขิงอาจจะบรรเทาอาการ
ถ้ามีอาการแพ้ท้องมากๆน้ำหนักตัวจะลดลงมาก
- แพทย์จะให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
- ให้น้ำเกลือเพื่อแก้คลื่นไส้อาเจียน
อาการตั้งครรภ์จะส่งผลให้มี การเปลี่ยนแปลงทางเต้านม
คัดเต้านม
อาการคัดเต้านมเป็นอาการตั้งครรภ์อีกอย่างนึงที่จะเหมือนกับอาการแน่แน่นเต้านมช่วงก่อนมีประจำเดือน แต่อาการจะมากกว่าและไม่ลดลง มักจะเกิดหลังจากที่ไข่ได้ผสมกับตัวเชื้อแล้วประมาณสองสัปดาห์
ไตรมาสแรก
หลังการตั้งครรภ์ได้ 6-8 สัปดาห์ เต้านมจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง คุณแม่จะรู้สึกว่าเต้านมใหญ่ขึ้น กดจะเจ็บเนื่องจากมีการเจริญเติบโตของไขมันและต่อมน้ำนม เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขยายใหญ่ขึ้นจนสังเกตเห็นได้ ควรเลือกขนาดของชุดชั้นในให้เหมาะสม หัวนมและฐานหัวนมจะดำขึ้น
ไตรมาสสอง
ขนาดของเต้านมจะใหญ่ขึ้นและมีการเริ่มสร้าง colustrum ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกิดกับทุกคนแรกๆจะมีลักษณะเหนียวข้นต่อมาจะมีลักษณะเหลวใส ของเหลวนี้จะหลังเมื่อมีการบีบหรือมีความตื่นเต้นทางเพศ
**คุณแม่ต้องสังเกตว่าหัวนมโผล่หรือไม่ ถ้าไม่โผล่ต้องปรึกษาแพทย์
อาการปวดหลัง
อาการปวดหลังเป็นอาการคนท้องที่พบได้บ่อย เกิดได้ตั้งแต่เดือนแรกจนใกล้คลอด สาเหตุเกิดจากมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้นทำให้หลังต้องแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้นซึ่งมีวิธีป้องกันดังนี้
- อย่าใส่รองเท้าส้นสูงให้ใส่รองเท้าส้นเตี้ยๆ
- งดยกของหนัก
- ห้ามก้มยกของ
- อย่ายืนนาน ถ้าหากต้องยืนนานให้ยืนด้วยขาข้างเดียวสลับกันไป
- นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงและให้หนุนหมอนใบเล็กๆที่หลัง
- จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและที่ทำงานเพื่อจะได้ไม่ต้องงอหลัง
- ที่นอนต้องไม่แข็งเกินไป
- ให้นอนตะแคงซ้ายขาขวาก่ายหมอนข้าง
- ประคบร้อนบริเวณที่ปวด
- ออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อ
ปัสสาวะบ่อย
ตั้งแต่เริ่มมีการตั้งครรภ์คุณแม่อาจจะมีความรู้สึกอยากปัสสาวะแม้ว่าจะเพิ่งไปปัสสาวะมาเนื่องจากมดลูกที่โตกดกระเพาะปัสสาวะ และฮอร์โมน human chorionic gonadotrophin (hCG) อาการปัสสาวะบ่อยจะดีขึ้นเมื่อมดลูกเจริญเข้าในครรภ์และจะเริ่มมีอาการอีกครั้งเมื่อเด็กใกล้คลอด เมื่อมีปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอให้บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
อาการปวดท้องน้อย
เมื่อมดลูกใหญ่ขึ้นจะทำให้เอ็นทียึดมดลูกตึงตัว คุณแม่จะรู้สึกตึงหน้าท้องบางครั้งข้างเดียวบางครั้งสองข้างลักษณะจะปวดตึงๆมักจะเริ่มขณะอายุครรภ์ 18-24 สัปดาห์ การป้องกัน
- อย่าเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว
- เมื่อปวดท้องให้โน้มตัวมาท่งหน้า
- ให้นอนพักหรือเปลี่ยนท่าบ่อยๆจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด
อาการปวดศีรษะและอารมณ์แปรปรวน
เป็นอาการตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ความถี่ของการปวด และความรุนแรงจะไม่เท่ากันในแต่ละคน บางคนอาจจะร้องไห้ บางคนก็ปวดศีรษะ สำหรับท่านที่รับประทานยาเป็นประจำโปรดปรึกษาแพทย์ เพราะยาบางประเภทไม่ควรจะรับประทานในคนท้อง โปรดปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดไม่หาย
- ปวดบ่อย
- ปวดรุนแรงมาก
- ตาพร่ามัวหรือมองเป็นจุด
- ปวดศีรษะร่วมกับคลื่นไส้
**อาการตั้งครรภ์อีกลักษณะหนึ่ง คือ การเป็นหลอดเลือดที่โป่งพอง มักจะพบในคนที่ท้องผูก หลังคลอดอาการท้องผูกจะดีขึ้น แนะนำป้องกันดังนี้
- หลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก ทานอาหารที่มีกากใยเยอะๆ
- รับประทานอาหารที่มีใยมาก
- ดื่มน้ำมากๆ
- แช่ก้นในน้ำอุ่น
- ใช้ครีมทา
อาการจุกเสียดแน่นท้อง
ในระหว่างการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจจะมีอาการจุกเสียดท้อง อาการจุกจะเริ่มจากกระเพาะไปสู่หลอดอาหารเกิดเนื่องจากมีกรดมาก อาหารย่อยช้าและมดลูกที่ดันกระเพาะปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะทำให้แน่นท้อง
วิธีป้องกันอาการแน่นท้อง
- รับประทานอาหารบ่อยๆเป็นวันละ 5-6 ครั้ง
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำระหว่างรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส และรสจัด
- งดสุราและบุหรี่
- งดอาหารก่อนออกกำลังกาย
อาการนอนไม่หลับ
มดลูกเริ่มโตขึ้นคุณแม่จะหาท่าสบายๆนอนยากเต็มแต่ก็มีเคล็ดในการนอนคือ
- ถ้านอนไม่หลับให้อาบน้ำอุ่นก่อนนอน
- ดื่มนมอุ่นๆสักแก้วจะช่วยให้หลับดีขึ้น
- ให้นอนตะแคงข้างซ้ายมีหมอนหนุนท้องและขา
- นอนบนม้าโยก
- ตะคริว
คุณแม่เมื่อใกล้คลอดจะมีอาการตะคริวที่เท้าทั้งสองข้างโดยมากมักจะเป็นขณะนอน มีวิธีป้องกันดังนี้
- ให้เหยียดขาก่อนนอน
- ขณะเหยียดห้ามชี้นิ้วเท้าให้ดึงข้อเท้าเข้าหาตัว
- ประคบอุ่นที่น่อง
- นวดน่อง
- ดื่มน้ำมากๆ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์หรือกาแฟ
- ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม
อาการเหนื่อยหอบ
เป็นอาการตั้งครรภ์ ที่พบเมื่ออายุครรภ์ได้ 31-34 สัปดาห์มดลูกใหญ่ขึ้นจนดันกำบังลมทำให้รู้สึกหายใจไม่อิ่ม คุณแม่ไม่ต้องกังวลกับอาการตั้งครรภ์ลักษณะนี้ ว่าลูกจะได้ oxygen เพียงพอหรือไม่เด็กยังคงได้รับ oxygen อย่างเพียงพอ เมื่อใกล้คลอดอายุครรภ์ 36-38 สัปดาห์จะเริ่มหายใจสะดวกขึ้นเนื่องจากเด็กเคลื่อนตัวลงช่องเชิงกราน
วิธีป้องกันไม่ให้เหนื่อย
- ขยับตัวช้าๆเพื่อไม่ให้ปอดและหัวใจทำงานหนัก
- นั่งตัวตรงเพื่อเพิ่มเนื้อที่ปอด
- ให้นอนหัวสูง
การเปลี่ยนผิวหนังในคนท้อง
อาการตั้งครรภ์ลักษณะนี้ เกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่พบบ่อยๆคือ
- จะเกิดฝ้าขึ้นโดยเฉพาะบริเวณที่เจอแดดดังนั้นควรทาครีมกันแดด
- จะเกิดรอยดำเป็นเส้นบริเวณหัวเหน่า หลังคลอดรอยดำจะหายไป
- รอยแนวสีชมพูบริเวณหน้าท้อง ที่เรียกว่าท้องลายเป็นการขยายของหน้าท้องเพื่อการเจริญเติบโตของเด็ก ไม่มีทางป้องกัน รอยนี้จะค่อยๆจางหายไปหลังคลอด
- จะเห็นเส้นเลือดบริเวณหน้าอกขยาย ผิวบริเวณผ่ามือจะแดง อาการทั้งสองเป็นผลจากฮอร์โมน