วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

มะม่วง เป็นอาหารคนท้องที่ดี !

มะม่วง เป็นอาหารคนท้องที่ดี !

อาหารคนท้อง


          หากพูดถึงผลไม้ยอดนิยมของว่าที่เป็นอาหารคนท้องแล้ว ‘มะม่วง' คงจะเป็นผลไม้อันดับต้นๆ ที่นึกถึง เพราะเป็นผลไม้ที่มีหลากรสทั้งเปรี้ยวหรือหวาน นอกจากจะอร่อยแล้วยังมากด้วยคุณค่าด้วยค่ะ

อาหารคนท้อง


กินมะม่วง..ระหว่างมีการตั้งครรภ์
          ในมะม่วงอุดมด้วยสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อคุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะกินแบบดิบหรือสุกก็ได้คุณค่าไม่แพ้กัน

* ฟอสฟอรัสและแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันของคุณแม่ให้แข็งแรง ไม่เปราะหรือหักง่าย และยังช่วยในการสร้างกระดูกและฟันให้กับทารก

* วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันโรคหวัด เลือดออกตามไรฟัน

* วิตามินบี 1 ป้องกันอาการเหน็บชา และตะคริว

* วิตามินบี 2 ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด

* เบตาแคโรทีน บำรุงผิวพรรณให้ผ่องใส และช่วยบำรุงดวงตาให้สดใส

* เส้นใย ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก ป้องกันอาการท้องผูกหรือริดสีดวงทวารระหว่างการตั้งครรภ์

มะม่วงดิบ...มะม่วงสุก
          ไม่ว่าจะเป็นมะม่วงดิบหรือมะม่วงสุกก็มีปริมาณน้ำตาลเท่าๆ กัน แต่จะอยู่ในรูปของแป้งและเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเมื่อตอนสุกแล้ว ดังนั้น มะม่วงดิบจะมีคาร์โบไฮเดรตมากกว่า ส่วนมะม่วงสุกมีน้ำตาล ผลไม้และเบตาแคโรทีนมากกว่า
       
          แม้ว่ารสเปรี้ยวของมะม่วงดิบจะช่วยแก้อาการแพ้ท้องและคลื่นไส้อาเจียนได้ แต่หากกินในปริมาณมากเกินไปร่วมกับเครื่องเคียงต่างๆ เช่น กะปิ น้ำปลาหวาน อาจทำให้คุณแม่ปวดท้องหรือท้องเสียได้ จึงควรระมัดระวัง
สำหรับมะม่วงสุกนั้น นอกจากจะมีรสหวานจากน้ำตาลผลไม้ที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่นแล้ว ยังสามารถใช้บำรุงผิวหน้าได้ โดยการนำไปปั่นแล้วนำมาพอกหน้า สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ซึ่งในมะม่วงสุกมีวิตามินซีมากกว่ามะนาวถึง 3 เท่า จะช่วยให้ผิวหน้าเรียบ นุ่ม ชุ่มชื่นและสดใสด้วย

แพ้ท้องต้องกินเปรี้ยว?
          ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงสร้างรกทำให้ร่างกายของคุณแม่เปลี่ยนอาจมีอาการแพ้ท้อง ซึ่งในแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงคือความอยากอาหาร เช่น อยากกินรสเปรี้ยว ของหวาน อาหารหมักดอง หรือของแปลกๆ แต่รสเปรี้ยวมักจะเป็นรสชาติพื้นๆ ที่คุณแม่มักจะเอ่ยถึงในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งถ้าไม่กินรสเปรี้ยวจัดจนไปกระตุ้นการกัดของกระเพาะอาหารก็สามารถกินได้และไม่เป็นอันตรายใดๆ กับการตั้งครรภ์


ที่มา : http://women.sanook.com/7021/
ดูเรื่องราวอื่นๆสำหรับคนท้อง : http://women.sanook.com/mom-baby/pregnancy

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คุณรู้จัก "การตั้งครรภ์" ดีพอแล้วหรือยัง ?

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์คืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร?


          การตั้งครรภ์ (Pregnancy) คือ ภาวะที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ แล้วได้ตัวอ่อนเกิดขึ้น ในการตั้งครรภ์ที่ปกติตัวอ่อนจะไปฝังที่เยื่อบุโพรงมดลูก จากนั้นตัวอ่อนซึ่งมีเซลล์เดียว ก็จะแบ่งตัวและพัฒนาเป็นอวัยวะต่างๆ และเจริญเป็นทารกต่อไป ซึ่งโดยทั่วไป ในผู้หญิงปกติที่มีประจำเดือนทุกๆประมาณ 4 สัปดาห์ จะมีอายุครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด

อะไรคือครรภ์เสี่ยงสูง?

          ครรภ์เสี่ยงสูง คือ ภาวะตั้งครรภ์ที่อาจเกิดอันตรายต่อมารดาและ/หรือต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น การที่มารดามีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง และ โรคมะเร็ง ซึ่งการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้โรคของมารดาที่ตั้งครรภ์แย่ลง และอาจส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วย
สาเหตุที่ทำให้การตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงที่พบบ่อย คือ
มารดามีอายุน้อย (น้อยกว่า 15 ปี) หรือ อายุมาก (มากกว่า 35 ปี)
มารดา อ้วน น้ำหนักตัวเกิน หรือผอมมาก หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรังเช่นดังกล่าวแล้ว
มารดามีประวัติการตั้งครรภ์ผิดปกติมาก่อน เช่น แท้ง หรือการคลอดก่อนกำหนด

การตั้งครรภ์มีกี่ระยะ? แต่ละระยะมีอาการอย่างไร?

ในทางการแพทย์นั้น การตั้งครรภ์ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ นั่นคือ ระยะที่มีการตั้งครรภ์ ระยะที่มีการเจ็บครรภ์คลอด และ ระยะหลังคลอด
ระยะที่มีการตั้งครรภ์
ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจจะมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการตอนเช้า รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ อาการจะดีขึ้นเมื่อผ่านช่วง 3เดือนแรกไปแล้ว นอกจากนั้นอาจจะมีอาการอ่อนเพลีย ท้องผูกได้บ้างในบางคน
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นประมาณ 20 สัปดาห์ จะรู้สึกได้ถึงการดิ้นของทารก หญิงตั้ง ครรภ์ควรที่จะต้องสังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ทุกวันเพื่อดูว่าทารกในครรภ์ยังมีชีวิตดีอยู่หรือไม่ (ซึ่งถ้าสงสัยเด็กดิ้นผิดปกติ เช่น ดิ้นลดลง หรือไม่ดิ้น ต้องรีบพบสูตินรีแพทย์) นอก จากนั้นอาจพบว่ามีการบวมที่ขาทั้งสองข้างได้เล็กน้อย
ระยะที่มีการเจ็บครรภ์คลอด จะมีอาการต่างๆดังนี้
o อาการเจ็บครรภ์คลอด จะมีลักษณะปวดทั่วท้องทั้งหมด ท้อง/มดลูกแข็งเกร็งเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก โดยอาการปวดจะบีบและคลายเป็นพักๆสม่ำเสมออย่างน้อย 10 นาทีต่อครั้ง ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่เอวร่วมด้วย
o มีมูกปนเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งแสดงว่ามีการเริ่มเปิดของปากมดลูก พร้อมที่จะคลอดแล้ว
o การมีน้ำเดิน คือ การมีน้ำใสใสไหลออกทางช่องคลอด กลั้นไม่ได้เหมือนปัสสาวะ ทั้งนี้เกิดจากถุงน้ำคร่ำแตก
ระยะหลังคลอด
ในระยะหลังคลอดจะยังคงมีเลือดไหลออกทางช่องคลอดในปริมาณไม่มาก ซึ่งเรียกว่าน้ำคาวปลา ในช่วงแรกจะมีสีแดงสด จากนั้นจะค่อยๆจางลงเป็นสีน้ำตาล และเปลี่ยน เป็นสีใสๆ โดยน้ำคาวปลาควรจะหมดภายใน 2-4 สัปดาห์ ซึ่งถ้าน้ำคาวปลาผิดปกติ เช่น เป็นเลือดสดตลอดเวลา หรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ หรือเมื่อผ่านระยะเวลานี้ไปแล้วยังคงมีน้ำคาวปลาอยู่ ควรรีบพบสูตินรีเวช เพราะอาจมีการติดเชื้อในมดลูก หรืออาจมีรกค้างอยู่ได้
การมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยบีบเป็นพักๆ โดยอาการจะเกิดขึ้นเมื่อมารดาให้นมบุตร อาการที่เกิดขึ้นเป็นภาวะปกติ แสดงว่ามดลูกกำลังหดตัวเข้าสู่อุ้งเชิงกราน
การขับปัสสาวะหลังคลอด ในช่วง 2-3 วันแรก ปริมาณปัสสาวะที่ออกจะออกมาก กว่าปกติ เนื่องจากร่างกายขับน้ำส่วนเกินที่เกิดจากการตั้งครรภ์ออกจากร่างกาย
ภายหลังคลอดอาจเกิดอาการผิดปกติทางด้านจิตใจได้ เช่น อาการซึมเศร้า วิตกกังวล ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจาก ปัญหาความสับสนในบทบาทของมารดา และภรรยา โดยอาการจะค่อยๆกลับเป็นปกติภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่ถ้าอาการเหล่านี้เรื้อรัง ควรรีบพบสูตินรีแพทย์

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตั้งครรภ์?

อาการที่แสดงว่าอาจมีการตั้งครรภ์ คือ
1. ประจำเดือนขาด
2. คลื่นไส้ อาเจียน มักมีอาการช่วงเช้า หรือมีอาการมากในช่วงเช้า
3. อยากอาหารแปลกๆ
4. อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน
5. อาจปวดศีรษะบ่อยขึ้น แต่ไม่รุนแรง
6. มีการเปลี่ยนแปลงของเต้านม เต้านมและหัวนมขยายใหญ่ขึ้น อาจรู้สึกเจ็บเต้านมและหัวนม
7. ปัสสาวะบ่อยๆ เพราะขนาดมดลูกโตขึ้นจึงกดเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ กระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ในกรณีที่มีอาการดังกล่าวและสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ อาจตรวจยืนยันการตั้งครรภ์เองโดยการไปซื้อแถบตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์จากร้านขายยาขนาดใหญ่ มาตรวจ ซึ่งหลังจากจุ่มแถบตรวจกับปัสสาวะ ถ้าพบว่าแถบขึ้น 2 ขีด แสดงว่า มีการตั้งครรภ์ในกรณีที่ไม่แน่ใจ ควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์

แพทย์วินิจฉัยได้อย่างไรว่าตั้งครรภ์?

แพทย์จะทำการวินิจฉัยว่าตั้งครรภ์โดยดูจาก ประวัติอาการ ประวัติเพศสัมพันธ์ ประวัติขาดประจำเดือน การตรวจร่างกาย การตรวจภายใน และมีการยืนยันผลการตรวจโดยการนำปัสสาวะไปตรวจดูการตั้งครรภ์

เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ควรพบแพทย์เมื่อไร?

เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีที่เป็นไปได้เพื่อจะได้ทำการฝากครรภ์ ประเมินอายุครรภ์ที่แน่นอน ประเมินว่ามีภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์หรือไม่ นอกจากนั้นยังมีการตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) หรือไม่ รวมถึงการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมียด้วยเพื่อการดูแลทารกตั้งแต่ในครรภ์

จะดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อตั้งครรภ์

การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ ที่สำคัญ คือ
การรับประทานอาหาร หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับประทานอาหารเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ประมาณ 300 กิโลแคลอรีต่อวัน ไม่มีอาหารที่ต้องงด ควรได้รับธาตุเหล็กเสริมระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อมาฝากครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะได้รับธาตุเหล็กในรูปยาเม็ด และควรรับประทานวันละเม็ดตลอดการตั้งครรภ์
การออกกำลังกาย หญิงตั้งครรภ์สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ ถ้าไม่มีอาการเหนื่อยเกินไปหรือเป็นการออกกำลังกายชนิดที่เกิดอันตราย
การทำงาน ควรหลีกเลี่ยงงานที่ต้องออกกำลังมาก ไม่ควรทำงานต่อเนื่องจนเกิดอา การเหนื่อยมาก ควรมีเวลาพักระหว่างวัน หญิงตั้งครรภ์ที่เคยคลอดบุตรน้ำหนักน้อยมาก่อนควรจำกัดการทำงานไม่ให้มากเกินไป
การเดินทาง หญิงตั้งครรภ์สามารถเดินทางได้ แต่มีข้อควรปฏิบัติคือ ควรมีโอกาสลุกเดินบ้างทุก 2-3 ชั่วโมง กรณีที่นั่งรถยนต์ควรใช้เข็มขัดนิรภัยอย่างเคร่งครัด
การเลือกใช้เสื้อผ้า ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่น
การขับถ่ายอุจจาระท้องผูก และมีโอกาสเป็นริดสีดวงทวารหนักได้มากขึ้น จึงควรพยายามป้องกันไม่ให้ท้องผูก โดยดื่มน้ำให้มากพอ รับประทานอาหารที่มีใยอาหารมากขึ้น (ผักและผลไม้) และออกกำลังกายพอสมควร หญิงตั้งครรภ์มักมีอาการ
การดูแลสุขภาพฟัน หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจสุขภาพฟันจากทันตแพทย์ และถ้ามีปัญหาก็ทำการรักษาได้ตามที่ทันตแพทย์เห็นสมควร
การมีเพศสัมพันธ์ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ ยกเว้นในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์
การสูบบุหรี่ หญิงตั้งครรภ์และสามีควรงดสูบบุหรี่ เนื่องจากมีผลต่อน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์
การดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ควรดื่มสุรา/แอลกอฮอล์ในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากสุราจะทำให้เกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้า ปัญญาอ่อน หรืออาจจะมีรูปร่างพิการแต่กำเนิดได้


ข้อห้ามขณะตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง?
          ข้อห้ามสำคัญขณะตั้งครรภ์ คือ การใช้ยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยขณะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เนื่องจากยาบางอย่างอาจส่งผลให้ทารกพิการได้
          นอกจากนั้น ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์มีโรคประจำตัว รวมทั้งโรคธาลัสซีเมีย ควรรีบไปฝากครรภ์เพื่อประเมินความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ว่า การตั้งครรภ์จะส่งผลต่อมารดาและทารกในครรภ์หรือไม่


อ่านเรื่องการตั้งครรภ์เพิ่มเติมได้ที่ : http://women.sanook.com/mom-baby/pregnancy/



วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

15 สัญญาณเตือนนี่อาจเป็น "อาการคนท้อง"

15 อาการคนท้อง

15 สัญญาณเตือนนี่อาจเป็น "อาการคนท้อง"


          ผ่านมา 2-3 สัปดาห์หลังจากกุ๊กกิ๊กมุ้งมิ้งกัน ตอนนี้ก็เลยอยากรู้แล้วว่า "เจ้าตัวน้อยมีวี่แววจะมาไหมนะ?" กว่าจะใช้อุปกรณ์ตรวจการตั้งครรภ์ หรือไปหาคุณหมอได้ก็ต้องรอจนกว่าประจำเดือนจะมาช้าไปสัก 5-10 วันโน่น ระหว่างที่กำลังตั้งหน้าตั้งตารอ ลองสังเกตตัวเองกันหน่อยดีไหม? มีอาการคนท้อง 15 ข้อที่อาจบ่งบอกว่า คุณกำลังจะเป็นคุณแม่แล้ว มาลองดูกันเลย!

อาการคนท้อง


1. อาการคนท้อง : ลมหายใจติดขัด
หมู่นี้คุณต้องหอบหายใจเมื่อก้าวขึ้นบันไดรึเปล่า? นี่อาจไม่ใช่เพราะร้างลาจากฟิตเนสเท่านั้นนะ ตัวอ่อนในครรภ์ต้องการออกซิเจน ร่างกายของคุณจึงต้องพยายามหายใจเอาอากาศเข้าไปให้มากขึ้น ปกติแล้ว อาการหายใจขัดมักเริ่มต้นในช่วงไตรมาสสอง แต่คุณแม่บางคนก็อาจเริ่มหอบเหนื่อยได้ตั้งแต่ช่วงแรก แย่หน่อยที่อาการนี้จะต่อเนื่องไปตลอด 9 เดือนของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้ายที่มดลูกขยายใหญ่จะเบียดพื้นที่ในช่องอก จะยิ่งรู้สึกอึดอัด (เอาน่า พอลูกเลื่อนลงไปอยู่ใกล้ปากมดลูกช่วงก่อนคลอด อาการจะทุเลาไปเอง)


2. อาการคนท้อง : เจ็บหน้าอก
อาการคัดตึงเต้านมเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ ผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกได้ว่ามีอาการคัดตึงเต้านม หรือรู้สึกเจ็บเล็กน้อยบริเวณหัวนม ตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์แรก ตลอด 9 เดือน หน้าอกของคุณจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้นและหนักขึ้นไปตามอายุครรภ์ หน้าอกอาจนุ่มขึ้น, วงปานนมมีสีเข้มขึ้น หรือเห็นเส้นเลือดดำบริเวณเต้านมได้ชัดเจน

3. อาการคนท้อง : อ่อนเพลีย
ทั้งที่มีหนังสือนิยายสืบสวนเล่มใหม่อยู่ในมือ แต่อ่านไปได้ 4-5 หน้าก็ต้องปิดไฟเข้านอนเสียแล้ว ความอ่อนเพลียนี้เป็นผลจากระดับฮอร์โมน และจะต่อเนื่องไปจนหมดไตรมาสที่หนึ่ง กว่าจะทุเลาก็เมื่อเข้าไตรมาสที่สองแล้วนั่นแหละ ระหว่างนี้ก็รีบเข้านอนเร็วๆ, กินอาหารที่มีธาตุเหล็ก, โปรตีน และดื่มน้ำให้มากขึ้น แต่ต้องเลี่ยงชากาแฟ และขนมหวาน (ให้พลังงานจริง แต่เป็นพลังงานระยะสั้นที่มีน้ำตาลสูง)

4. อาการคนท้อง : คลื่นไส้อาเจียน
อาการคลื่นไส้อาเจียนมักเริ่มต้นในสัปดาห์ที่หกหลังการปฏิสนธิ แต่คุณแม่บางคนก็อาจอออกอาการตั้งแต่ช่วงแรก สาวๆ ส่วนใหญ่รู้สึกคลื่นไส้ในตอนเช้า แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่โชคร้ายหน่อย เพราะต้องวิ่งเข้าห้องน้ำไปอาเจียนทั้งเช้า-กลางวัน-เย็น

5. อาการคนท้อง : ปัสสาวะบ่อย
ง่วงแทบลืมตาไม่ขึ้น แต่ก็ต้องลุกไปห้องน้ำกลางดึกอยู่บ่อยๆ นี่อาจเป็นสัญญาณการตั้งครรภ์ เพราะร่างกายของแม่ตั้งครรภ์จะผลิตเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขึ้น ไตจึงต้องขับของเสียมากขึ้น ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะรองรับของเหลวมากขึ้นตามไปด้วย

6. อาการคนท้อง : ปวดศีรษะ
อาการปวดศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อยขณะตั้งครรภ์รองจากอาการคลื่นไส้อาเจียน ตัวการหลักก็ยังเป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนตามเคย แต่บางคนที่มีอาการไมเกรนหรือไซนัสอยู่ก่อนแล้ว อาการอาจยิ่งรุนแรงขึ้นได้ อาจกินยาแก้ปวดพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการได้ แต่ก็ควรดูแลร่างกายด้วยการกินอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ ปรับสภาพแวดล้อม (คุณแม่ที่มีอาการปวดศีรษะหลายคนบอกว่า แสงจ้าๆ จะยิ่งกระตุ้นให้รู้สึกปวด หากคุณมีอาการเช่นนี้ ก็ควรเอาม่านหน้าต่างลง หรือปิดไฟบางดวงไปบ้าง) และผ่อนคลายจิตใจด้วย

7. อาการคนท้อง : ปวดหลัง
ถ้าแผ่นหลังส่วนล่างรู้สึกเจ็บ นี่อาจเป็นเพราะเส้นเอ็นบริเวณนั้นเริ่มคลายตัวเพื่อรองรับสรีระที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง อาการปวดหลังนี้จะทวีขึ้นขณะที่น้ำหนักตัวของคุณค่อยๆ เพิ่มขึ้น พักผ่อนให้มาก และเริ่มต้นบริหารกล้ามเนื้อแผ่นหลังเสียแต่วันนี้

8.อาการคนท้อง :  อยากอาหาร/เบื่ออาหาร
โหยของเปรี้ยวๆ ที่ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ได้ชะงัด แต่ดันเอียนปลานึ่งของโปรดเสียอย่างนั้น ผลการวิจัยชี้ว่า คุณแม่ตั้งครรภ์กว่าร้อยละ 90 จะอยากกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นพิเศษ ตรงกันข้าม คุณแม่ร้อยละ 50-85 จะเกิดอาการเกลียดอาหารบางชนิด

9.  อาการคนท้อง : ท้องผูก/ตัวบวม
เมื่ออาทิตย์ที่แล้วยังใส่ยีนส์ตัวเก่งได้อยู่เลย ไหงอาทิตย์นี้ยัดไม่เข้า? ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอาจไปกระตุ้นให้กระบวนการย่อยอาหารและขับถ่ายทำงานช้าลง พาให้ท้องผูกและตัวบวมอย่างนี้แหละ ลองดื่มน้ำให้มากขึ้น และกินอาหารที่มีกากไย หรือกินอาหารที่ช่วยระบาย เช่น กล้วยน้ำว้า ดูนะ

10. อาการคนท้อง : อารมณ์เหวี่ยง
ช่วงนี้เป็นบ่อยจนชักรำคาญตัวเอง สาเหตุก็คือฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอีกนั่นแหละ จะว่าไปก็เป็นอาการปกติช่วงก่อนมีประจำเดือน แต่แม่ท้องจะอารมณ์เหวี่ยงนานกว่า และดูรุนแรงกว่า

11. อาการคนท้อง : อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
ปกติแล้ว ก่อนมีประจำเดือน 2 สัปดาห์ อุณหภูมิร่างกายของผู้หญิงมักจะสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าผ่านช่วงที่ประจำเดือนน่าจะมาไปแล้ว (และประจำเดือนไม่มา) และอุณหภูมิร่างกายยังสูงเท่าเดิม ก็อาจแปลว่าคุณกำลังจะมีข่าวดี

12. อาการคนท้อง : จมูกไว
ผลจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้คุณกลายเป็นคนจมูกไว ได้กลิ่นอะไรก็พานเหม็นจนอยากอาเจียนไปเสียหมด ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นจากถังขยะ, กลิ่นกาแฟถ้วยโปรด, หรือแม้แต่น้ำหอมที่เคยชอบ.

13. อาการคนท้อง : หน้ามืดเป็นลม
ปริมาณน้ำตาลหรือความดันโลหิตที่ลดลง อาจส่งผลให้คุณรู้สึกหน้ามืดตาลายได้ อย่าลืมกินอาหารและดื่มน้ำให้เพียงพอด้วยนะ

14. อาการคนท้อง : เลือดไหล
ถ้าเป็นเลือดใสๆ ที่ไหลออกมาช่วง 2-3 วันก่อนถึงวันที่ประจำเดือนควรจะมา อาจเป็นเลือดที่เกิดระหว่างที่ตัวอ่อนฝังตัวบนผนังมดลูก แบบนี้ก็ไม่ใช่ประจำเดือนหรอกนะ

15. อาการคนท้อง : ประจำเดือนมาช้า
ถ้าประจำเดือนมาช้ามากกว่า 10 วัน ก็ไปซื้อเครื่องตรวจการตั้งครรภ์มาลองตรวจดูได้แล้วละ


         ทั้ง 15 ข้อนี้เป็นเพียงสัญญาณบ่งชี้เท่านั้น อาการผิดปกติบางชนิด เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือตั้งครรภ์ไข่ลม ก็มีลักษณะต่างๆ คล้ายกับการตั้งครรภ์ปกติ แต่การตั้งครรภ์ผิดปกติดังกล่าว ทารกจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซ้ำยังเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่ ดังนั้น คุณแม่ที่สงสัยว่าตัวเองกำลังจะมีเจ้าเจ้าตัวน้อย ควรไปตรวจครรภ์กับสูติแพทย์เพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจน และเตรียมตัวฝากครรภ์เสียแต่เนิ่นๆ ทันทีที่รู้ว่าตัวตั้งครรภ์ จะปลอดภัยที่สุดค่ะ

เช็คอาการคนท้องอื่นๆ คลิ๊ก !!


ที่มา : http://women.sanook.com/14146/
อ่านเรื่องอื่นเกี๋ยวกับคนท้องเพิ่มเติมได้ที่ : http://women.sanook.com/mom-baby/pregnancy/

อาการคนท้อง : ภาวะขาดสารอาหารไม่รู้ตัว !

อาการคนท้อง : ภาวะขาดสารอาหาร !

อาการคนท้อง

          อาการคนท้องหลายคนเป็นโรคกลัวอ้วน จนยอมอดอาหาร อาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารโดยไม่รู้ตัว !!



           อาการคนท้องหลายท่านมีความเชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตอนตั้งครรภ์ ส่งผลให้หลังคลอดน้ำหนักลดยาก ทำให้ไขมันส่วนเกินเยอะ หลายคนจึงอดอาหารในตอนท้องเพื่อให้น้ำหนักขึ้นน้อย ทั้งที่ความเป็นจริง แม่มักจะลดน้ำหนักได้หลังคลอดหากน้ำหนักขึ้นพอดี ข้อมูลจากงานวิจัยในประเทศอเมริกาพบว่า ตามธรรมชาติ ทันทีหลังคลอด น้ำหนักแม่จะลดลง 5.5 กิโลกรัม อีก 2 สัปดาห์ต่อมาน้ำหนักจะลดลงอีก 4 กิโลกรัม หลังจากนั้นภายใน 6 เดือน น้ำหนักจะลดอีก 2.5 กิโลกรัม อีกทั้งยังพบว่า ยิ่งน้ำหนักแม่เพิ่มมากเท่าไรในขณะตั้งครรภ์ ช่วงหลังคลอดน้ำหนักก็จะลดลงมากเท่านั้น ยิ่งหากแม่ให้นมลูก พร้อมกับออกกำลังกายและควบคุมอาหาร น้ำหนักก็จะยิ่งกลับมาเป็นปกติในช่วงหลังคลอดเร็วขึ้น

           โดยทั่วไปสถาบันการแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือไอโอเอ็ม (Institute of Medicine) มีคำแนะนำให้แม่เพิ่มน้ำหนักตอนท้องตามดัชนีมวลกาย ดังนี้



          อาจจะเพราะความเชื่อดังกล่าว จึงพบอาการคนท้องที่แม่ขาดสารอาหารค่อนข้างมากในประเทศไทย ข้อมูลทางการแพทย์ รายงานโดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ในปี พ.ศ. 2545 ประชากรวัยทำงานมีภาวะขาดสารอาหาร ร้อยละ 25.3 ในปี พ.ศ. 2546 มีหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 44.5 เป็นโรคขาดสารไอโอดีน และในปี พ.ศ. 2547 มีหญิงตั้งครรภ์ถึงร้อยละ 12.35 ที่มีอาการคนท้องเป็นภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ฯลฯ

          อาการคนท้องที่เป็นภาวะขาดสารอาหารเหล่านี้จะส่งผลต่อสุขภาพของแม่ท้องอย่างไร และจะแก้ไขได้อย่างไร ?

อาการคนท้องโดยเป็นภาวะขาดสารอาหารคืออะไร 
           คือภาวะที่เกิดจากร่างกายไม่ได้รับวิตามิน เกลือแร่ หรือสารอาหารอื่นๆ ทำให้ไม่เพียงพอต่อการทำงานของร่างกายที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงเป็นปกติสุข อาจจะเกิดจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ มีปัญหาการย่อย การดูดซึมอาหาร หรือปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการคนท้องลักษณะนี้คือ
1. ขาดสารอาหารมาตั้งแต่ก่อนท้อง

2. รับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ สาเหตุจากความยากจน อาหารมีราคาแพง การขาดแคลนอาหารในท้องถิ่น แพ้ท้อง ท้องอืดแน่น และจากสาเหตุอื่นๆ

3. รับประทานอาหารไม่ถูกวิธี เช่น กินข้าวขัดขาวทำให้ขาดวิตามิน รับประทานอาหารไม่ครบหมู่ ไม่รับประทานผัก ผลไม้ เป็นต้น

4. มีโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ท้องเสีย ตกเลือดมาก โรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ โรคพยาธิลำไส้ แพ้อาหาร โรคตับ โรคไต โรคถุงน้ำดี โรคเบาหวาน โรคเอดส์ โรคมะเร็ง โรคเรื้อรังอื่นๆ ติดเหล้า ติดบุหรี่ ติดยาเสพติด นอนบนเตียงในโรงพยาบาลนานๆ ได้รับการผ่าตัดกระเพาะลำไส้ ฯลฯ

5. มีความเชื่อเรื่องการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น กลัวอ้วนหลังคลอด ไม่รับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์เพราะกลัวลูกจะโตคลอดยาก คนบางกลุ่มมีความเชื่อว่าหากกินไข่ เด็กที่คลอดออกมาจะลักเล็กขโมยน้อย เป็นต้น


ผลเสียจากการเกิดอาการคนท้องในลักษณะนี้คือ
1. แม่ท้องจะมีอาการคนท้องในลักษณะ ปากแห้ง เจ็บปาก เจ็บลิ้น เป็นแผลมุมปาก แผลในปากและลิ้น โลหิตจาง อ่อนเพลีย ตาฝ้าฟาง หน้ามืด เป็นลม ใจสั่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก ต่อมไทรอยด์โต เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล

2. แม่ท้องอาจมีเลือดออกผิดปกติในขณะตั้งครรภ์ ก่อนคลอด และหลังคลอด จากรกเกาะต่ำ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด

3. ทารกในครรภ์แท้ง คลอดก่อนกำหนด เสียชีวิตในครรภ์ หรือเสียชีวิตหลังคลอด

4. ทารกตัวเล็กกว่าอายุครรภ์ อาจมีปัญหาการพัฒนาของสมองทารก โดยเฉพาะการขาดสารอาหารของแม่ท้องในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์

5. น้ำนมแม่หลังคลอดมีน้อย ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงลูก

          จะเห็นแล้วว่าการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ไม่ได้หมายความว่าอดอยากเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการมีความเชื่อที่ผิดๆ หรือการมีลักษณะนิสัยการกินที่ไม่ถูกต้องมาแต่เดิม ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราและลูกได้เช่นกัน ฉบับหน้ามาพบกับโภชนาการที่ดีสำหรับแม่ท้อง และคำแนะนำเพื่อป้องกันไม่ให้คุณแม่ขาดสารอาหารกันค่ะ

ที่มา : http://women.sanook.com/16882/
ดูอาการคนท้องอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : http://women.sanook.com/19029/

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อาหารคนท้อง กินอย่างไรให้เหมาะสม ?

อาหารคนท้อง กินอย่างไรให้เหมาะสม ?

อาหารคนท้อง


อาหารคนท้อง



          อาหารคนท้อง ต้องกินอาหารให้เหมาะสมกับตัวคุณแม่และลูกน้อยในช่วงตั้งท้องไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดค่ะ พฤติกรรมการกินอาหารคนท้องต้องเลือกให้เหมาะกับร่างกาย และรูปร่างของคุณแม่แต่ละคน เพราะหากกินมากไปอาจทำให้คุณแม่อ้วนได้ง่าย แต่ถ้ากินน้อยไปก็อาจทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนค่ะ

อาหารคนท้อง...กินอย่างไร ?
          ในช่วงไตรมาสแรก ของการตั้งท้อง คุณแม่สามารถกินอาหารคนท้องได้ตามปกติ น้ำหนักของคุณแม่อาจยังเพิ่มไม่มากนัก เพราะในระยะนี้เด็กยังเจริญเติบโตไม่มาก แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง ขนมหวาน และไขมัน เพราะหากกินมากเกินไป จะทำให้อ้วนได้ง่าย อาหารคนท้องควรเป็นอาหารที่ครบ 5 หมู่ งดอาหารรสจัด อาหารคนท้องไม่ควรเป็นอาหารหมักดองทุกชนิดและกินอาหารที่สะอาดไม่มีการปนเปื้อนของสารปรุงแต่งต่างๆ รวมถึงอาจเพิ่มปริมาณอาหารคนท้องในแต่ละมื้อเป็นพิเศษ แต่ถ้าไม่สามารถเพิ่มปริมาณอาหารในแต่ละมื้อได้ คุณแม่อาจมีอาหารว่างระหว่างมื้อ และอาหารที่กินเพิ่มจากเดิม ซึ่งอาจจะเป็นการดื่มนม กินขนมหรือของว่าง
         
          พอถึงช่วงไตรมาส 2 และ 3 คุณแม่จะหิวบ่อยและกินเก่งมากขึ้น ดังนั้น จากที่เคยกินมื้อใหญ่ คุณแม่อาจจะแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ และเพิ่มความถี่เป็น 5 - 6 มื้อแทน เพื่อให้เหมาะกับการทำงานของลำไส้ที่ทำงานช้าลง ซึ่งการแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ จะทำให้อาหารย่อยง่าย เพราะถ้าคุณแม่กินมื้อใหญ่จนอิ่มจะทำให้อึดอัดท้องและจุกเสียดได้ การกินจุบจิบเรื่อยๆ จะทำให้คุณแม่อิ่มตลอดเวลา และสบายท้องกว่าค่ะ

          สำหรับไตรมาสที่ 3 จนถึงช่วงก่อนคลอด คุณแม่ควรได้รับอาหารคนท้องที่เป็นอาหารบำรุงร่างกายเต็มที่ เพราะเป็นช่วงที่เด็กกำลังเติบโต น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะเป็นน้ำหนักของลูกมากกว่าของแม่ หลังกินอาหารแล้ว คุณแม่อย่านอนทันที ควรเดินเล่นเพื่อให้อาหารย่อยก่อน และควรนอนหัวสูงเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้การดื่มนมหรือน้ำผลไม้จะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้

อาหารคนท้อง...ในช่วงแพ้ท้อง
ในช่วงของการท้องระยะแรก อาการแพ้ท้องมักจะทำให้คุณแม่เหม็นเบื่อ และกินอาหารได้ลำบาก ลองวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยลดอาการแพ้ท้องได้และกินอาหารได้สะดวกขึ้นค่ะ

- กินอาหารในปริมาณน้อย แต่กินบ่อยครั้ง อย่างดอาหารเป็นเวลานาน หรือปล่อยให้ท้องว่างเพราะจะทำให้อยากอาเจียน

- อาหารคนท้องที่แพ้ท้องนั้นไม่ควรเป็นอาหารแบบกินข้าวคำดื่มน้ำคำ เพราะจะทำให้รู้สึกอยากอาเจียน

- อาหารคนท้องที่แพ้ท้องอยู่นั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเครื่องเทศและของทอด เพราะย่อยยาก ให้กินอาหารประเภทแป้ง เช่น ขนมปัง คุ้กกี้ หรือธัญพืชแทน

- อาหารคนท้องที่แพ้ท้องไม่ควรเป็นอาหารรสหวานจัด หรือที่มีไขมันสูง เพราะจะทำให้คลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น

- ดื่มเครื่องดื่มที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว หรือดื่มน้ำขิง เป็นอาหารคนท้องที่แพ้ท้องได้ดี เพราะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้

อาหารคนท้อง...ของแม่ผอม / แม่อ้วน 
          แม่ท้องที่ผอมตั้งแต่ก่อนตั้งท้อง อาหารคนท้องควรจะได้รับพลังงานและสารอาหารมากกว่าแม่ท้องที่มีน้ำหนักตัวปกติ โดยการเพิ่มมื้ออาหารให้มากขึ้น เพราะหากได้รับพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอ ก็อาจจะทำให้ลูกที่เกิดมามีน้ำหนักตัวน้อย

          สำหรับแม่ท้องที่อ้วนตั้งแต่ก่อนตั้งท้องและมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน อาหารคนท้องควรจะกินอาหารให้พลังงานแต่พอดี โดยอาหารคนท้องควรเป็นอาหารที่ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย อาหารคนท้องของคุณแม่อ้วนไม่ควรเป็นของหวานหรืออาหารที่มีไขมันเยอะจนเกินไป เพื่อที่ร่างกายจะได้ไม่สะสมเป็นไขมัน ซึ่งจะทำให้คุณแม่ลดน้ำหนักได้ยากหลังจากคลอดลูกนะคะ



ที่มา : http://women.sanook.com/14224/
อ่านเรื่องอื่นสำหรับคนท้อง : http://women.sanook.com/mom-baby/

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

5 วัคซีนควรฉีดเมื่อมี "การตั้งครรภ์"

5 วัคซีนควรฉีดเมื่อมี "การตั้งครรภ์"

การตั้งครรภ์


           ตามทฤษฎีของคนที่มีการตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่สามารถป้องกันได้มาตั้งแต่ก่อนมีการตั้งครรภ์ หากในทางปฏิบัติกลับพบคุณแม่หลายคนที่ตั้งครรภ์แล้วแต่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน ในขณะที่มีความเสี่ยงที่จะติดโรค หลักการการให้วัคซีนในผู้ที่มีการตั้งครรภ์คือ ประโยชน์ของการได้รับวัคซีนต้องมากกว่าความเสี่ยงจากผลเสียของวัคซีนที่อาจเกิดกับแม่และลูกในครรภ์ จึงจะมีการฉีดวัคซีนนั้นๆ

การตั้งครรภ์


5 อันดับวัคซีนที่คุณแม่ควรฉีดระหว่างการตั้งครรภ์ ได้แก่

1. วัคซีนบาดทะยัก (Tetanus)
ในอดีตทารกที่คลอดที่บ้านใช้ไม่ไผ่ตัดสายสะดือมักจะเสียชีวิตด้วยโรคบาดทะยักโดยมีอาการเกร็งหลังแข็ง หลังแอ่น ชักกระตุก ดูดนมไม่ได้ จนเสียชีวิต การฉีดวัคซีนบาดทะยักซึ่งเป็นวัคซีนตัวตายประกอบไปด้วยทอกซอยด์บาดทะยัก นอกจากช่วยป้องกันโรคบาดทะยักในแม่แล้ว ยังสามารถป้องกันโรคบาดทะยักในลูกที่เกิดมาอีกด้วย อย่างไรก็ตามการคลอดและการดูแลสายสะดือก็ควรมีมาตรฐานสะอาดปราศจากเชื้อ มิฉะนั้นถึงฉีดวัคซีน ก็อาจจะยังติดเชื้อบาดทะยักได้

2. วัคซีนคอตีบ (Diptheria)
มีรายงานว่าโรคคอตีบกลับมาระบาดใหม่ในเมืองไทย ในปีพ.ศ. 2555 ในรายที่รุนแรงโรคคอตีบทำให้แม่และลูกเสียชีวิตในขณะกำลังมีการตั้งครรภ์ได้ อาการอื่นๆ ได้แก่ หายใจไม่ออก มีการอุดตันทางเดินหายใจ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ วัคซีนคอตีบเป็นวัคซีนตัวตายประกอบไปด้วยทอกซอยด์คอตีบเนื่องจากวัคซีนไม่มีอันตรายใดๆ จึงแนะนำให้ฉีดในผู้ที่มีการตั้งครรภ์ ช่วยป้องกันโรคคอตีบในแม่และป้องกันคอตีบในลูกที่คลอดมา เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดร่วมกับบาดทะยัก (Td Vaccine) โปรแกรมการฉีดเป็นเช่นเดียวกับวัคซีนบาดทะยัก

3. วัคซีนไอกรน (Pertussis)
โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ มีการไอถี่ๆ หากเป็นมากจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวถึงแก่ชีวิตได้ ปัจจุบันเริ่มมีโรคไอกรนระบาดอีก เชื่อว่าเพราะภูมิต้านทานโรคไอกรนของคนเราเริ่มลดลง วัคซีนไอกรนเป็นวัคซีนตัวตายสามารถฉีดในผู้ที่มีการตั้งครรภ์ได้ ช่วยป้องกันโรคไอกรนในแม่และลูกที่คลอดมา ซึ่งเป็นที่รู้ว่า เกินร้อยละ 50 ของลูกที่ป่วยเป็นโรคไอกรน ติดมาจากเชื้อโรคไอกรนในแม่ ซึ่งหากลูกเป็นโรคไอกรนใน 3 เดือนแรก ลูกมีโอกาสเจ็บป่วยรุนแรงจนเสียชีวิต แต่หากฉีดวัคซีนไอกรนให้แม่ในขณะการตั้งครรภ์ สามารถป้องกันโรคไอกรนในลูกที่คลอดออกมาได้ตั้งแต่ 2-6 เดือน

4. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ทำอันตรายให้กับคนที่มีการตั้งครรภ์มากกว่าคนธรรมดา ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากกว่า เช่น ปอดบวม เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจวาย ฯลฯ จนทำให้แม่และลูกเสียชีวิตได้ วัคซีนนี้จึงควรฉีดในคนที่มีการตั้งครรภ์ทุกฤดู ไม่จำเพาะช่วงหน้าหนาวที่มีไข้หวัดใหญ่ระบาดเท่านั้น ซึ่งนอกจากป้องกันแม่แล้วยังสามารถป้องกันลูกที่จะเกิดมาได้อีกด้วย เนื่องจากเป็นวัคซีนตัวตายสามารถฉีดได้อย่างปลอดภัย โดย ฉีดในคนที่มีการตั้งครรภ์ได้ทุกอายุครรภ์ ฉีดหนึ่งเข็ม คุ้มกันได้ 1ปี

5. วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)
วัคซีนนี้เป็นวัคซีนตัวตายซึ่งไม่มีอันตรายต่อแม่หรือลูก แม้ปัจจุบันเด็กทุกคนที่เกิดมาใหม่จะได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี แต่ในคนที่มีการตั้งครรภ์บางคนยังไม่เคยได้รับวัคซีนนี้เลย การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อาจทำให้เกิดตับอักเสบ มีอาการตัวเหลืองตาเหลืองอ่อนเพลีย ตับวาย หากเป็นตับอักเสบเรื้อรังอาจเกิดตับแข็ง หรือเป็นมะเร็งที่ตับได้ ดังนั้นผู้ที่มีการตั้งครรภ์ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี หรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบี ควรฉีดวัคซีนนี้ซึ่งนอกจากป้องกันแม่ยังสามารถป้องกันและลูกที่จะคลอดออกมาด้วย


ที่มา : http://women.sanook.com/16124/

อ่านเรื่องสำหรับคนท้องต่อได้ที่ : http://women.sanook.com/mom-baby/pregnancy/

"อยากมีลูก" มีตัวช่วย !

อยากมีลูก มีตัวช่วย !!

อยากมีลูก !


อยากมีลูก



          ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) เป็นโรคที่บั่นทอนความสามารถของร่างกายในการทำหน้าที่พื้นฐานด้านการสืบพันธุ์ โดยเกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งรวมถึงปัญหาเกี่ยวกับการสร้างสเปิร์มหรือตกไข่ ปัญหาความผิดปกติของท่อรังไข่หรือมดลูก ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) การแท้งลูกบ่อย รวมไปถึงความผิดปกติของฮอร์โมนและโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune) ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

          เอ็มเอสดี (MSD) เป็นบริษัทที่พัฒนาโซลูชั่นด้านการปฏิสนธินอกร่างกายหรือการทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization : IVF) เผยทางเลือกใหม่สำหรับคนอยากมีลูกในการรักษาผู้มีบุตรยาก ช่วยให้ความหวังกับผู้หญิงที่อยากมีลูกจำนวนมากที่ประสบความเครียดทางอารมณ์และร่างกายจากภาวะมีบุตรยาก โดยการให้ฟอลลิเคิล สติมิวเลติง ฮอร์โมน (Follicle stimulating hormone : FSH) ชนิดออกฤทธิ์นาน นับเป็นครั้งแรกของวงการ ประโยชน์ที่สำคัญในการรักษาด้วยวิธีนี้คือ มีขั้นตอนการรักษาน้อย ปัจจุบันผู้ที่เลือกรับการรักษาด้วยวิธี IVF ต้องได้รับการฉีด FSH ใต้ผิวหนังทุกวัน แต่วิธีใหม่นี้ผู้หญิงที่อยากมีลูกจะได้รับการฉีด FSH เพียงสัปดาห์ละครั้ง

          ‘นพ.สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์' ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อในระบบสืบพันธุ์และภาวะมีบุตรยากอธิบายว่า "วิธีการรักษาใหม่นี้ถือเป็นยุคใหม่ของความหวังสำหรับผู้ป่วยของเรา ภาวะมีบุตรยากเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วโลกและในประเทศไทย การรักษาที่มีนวัตกรรมล้ำหน้าเช่นนี้ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกและแพทย์ทำงานง่ายขึ้น โซลูชั่น ดังกล่าวเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นในการลดภาระของผู้หญิงที่อยากมีลูกที่กำลังประสบปัญหาในการตั้งครรภ์ที่ต้องฉีดฮอร์โมนทุกวัน"
มีวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่อยากมีลูกบางอย่างที่ใช้รักษาผู้มีบุตรยาก รวมถึงการผ่าตัด รักษาด้วยฮอร์โมน ผสมเทียม และการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) แต่วิธีการรักษาที่ผ่านมาใช้เวลานานและสร้างความเจ็บปวด แต่วิธีการรักษาใหม่นี้มีประสิทธิภาพ สะดวก และมุ่งเน้นดูแลผู้ป่วยที่อยากมีลูกจริงๆเป็นสำคัญ ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้เป็นการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นฟอลลิเคิลชนิดออกฤทธิ์นาน (Sustained Release) ตัวแรก ด้วยความสามารถในการกระตุ้น และรักษาอัตราการเติบโตของรังไข่ (Follicular Growth) ในหลายระยะตลอดทั้งสัปดาห์ การฉีดฮอร์โมนในปริมาณที่แนะนำ 1 ครั้งอาจใช้แทนการฉีดฮอร์โมน FSH แบบเดิม ซึ่งฉีดใต้รูขุมขนเพื่อกระตุ้นรังไข่ภายใต้การควบคุม (Controlled ovarian stimulation : COS) ทุกวันต่อเนื่อง 7 วันแรก

          มีนวัตกรรมดีๆ แบบนี้ สามีภรรยาคู่ไหนที่อยากมีลูกและกำลังเผชิญปัญหาการมีบุตรยาก คงทำให้หายเครียดและมีกำลังใจในการสร้างเจ้าตัวน้อยไว้เป็นโซ่ทองคล้องใจกันนะคะ


ขอบคุณที่มา : http://women.sanook.com/16629/
อ่านเรื่องดีๆสำหรับการตั้งครรภ์ได้ที่ : http://women.sanook.com/mom-baby/pregnancy

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

"อยากมีลูก" ต้องใจเย็น แต่อย่าเย็นใจ

"อยากมีลูก" ต้องใจเย็น แต่อย่าเย็นใจ

อยากมีลูก

วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆจากคุณหมอของโรงพยาบาลสมิติเวชมาฝากคุณแม่ที่อยากมีลูกกันค่ะ





และคำแนะนำจากคุณหมอคนสวยอีกหนึ่งท่านว่า หากคุณอยากมีลูก คุณควรอย่างไรดี หากคุณมีบุตรยาก !!





อ่านเคล็ดลับง่ายๆสำหรับคนอยากมีลูก >> คลิ๊ก
หรืออ่านเรื่องอื่นเพิ่มเติมสำหรับคุณแม่ >> คลิ๊ก



วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เมื่อมี “การตั้งครรภ์” ห้ามกินยาอื่นนอกจากยาหมอสั่ง !!

เมื่อมี “การตั้งครรภ์” ห้ามกินยาอื่นนอกจากยาหมอสั่ง

หากมี "การตั้งครรภ์" ห้ามกินยาอื่นใดนอกจากยาที่คุณหมอสั่งเท่านั้น

          คุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมอยากให้ลูกน้อยที่เกิดมามีอาการครบ 32 และไม่มีความพิการแต่กำเนิด จึงควรต้องระลึกเสมอว่ายาบางชนิดที่คุณแม่รับประทานเป็นประจำ หรือแม้แต่ยาแต้มสิวเพียงเล็กน้อยนั้นอาจมีผลต่อการเจริญเติบโตหรือสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ได้ เพราะ ฤทธิ์ยาบางชนิดสามารถผ่านทางผิวหนังหรือสายรกที่อยู่ในท้องไปสู่ทารกในครรภ์ได้ และยาบางชนิดก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้

นอกจากนี้ควรดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน เช่น หลีกเลี่ยงจาก รังสี สารเคมี และโลหะหนัก เป็นต้น เนื่องจากสารพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางผิวหนัง ทางลมหายใจ การรับประทาน หรือทางน้ำดื่ม ทั้งนี้คุณแม่ที่มีอาชีพบางอาชีพ เช่น โรงงานเกษตรกร จะเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษ

ดังนั้นคุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ ก่อนคลอดนั้นจะต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษด้วยเช่นกัน

ฉะนั้นก่อนจะซื้อยาหรือใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ ตัวอย่างที่มักใช้เป็นประจำและผลของยาที่มีต่อตัวลูกน้อยในครรภ์ได้แก่ 
- ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ เช่น เตตราซันคลีน ไม่ควรกินเด็ดขาด เพราะมีผลกระทบต่อกระดูกและฟันของลูก ทำให้ลูกที่เกิดมามีฟันเหลือง และอาจมีผลต่อการได้ยินของลูกด้วย
- กลุ่มยาซัลฟา ถ้าใช้ก่อนคลอด ลูกอาจออกมาตัวเหลือง
- ยาจำพวก ยาสเตรปโตมัยซิน ที่มีผลอาจทำให้ลูกหูตึงหรือหูหนวก
- กลุ่มยาคลอแรม อาจทำให้เด็กที่เกิดมาตัวเขียว ซีด ท้องป่อง
- กลุ่มยาจำพวกคลอโรควินและควินิน ทำให้แท้งได้
- ยาเพนนิซิซิลิน และยาแอมพิซิลิน เป็นยาที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ยกเว้นคนที่แพ้เท่านั้น
- ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น ยาแอสไพริน ไม่ควรใช้แอสไพริน 3 เดือนก่อนคลอด

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อาการคนท้องที่คุณแม่ต้องเจอ !

อาการคนท้อง 

อาการคนท้อง


อาการคนท้อง


          เมื่อคุณมีการตั้งครรภ์ หนึ่งสิ่งที่จะขึ้นกับคุณนั่นก็คือ การแพ้ท้อง เป็นอาการคนท้องที่เกิดกับคุณแม่ที่เริ่มมีการตั้งครรภ์ บางคนอาจจะมีการแพ้ท้องในช่วง 6-20 สัปดาห์ แต่บางคนก็เกิดการแพ้ท้องไปตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์เลยก็เป็นไปได้ ซึ่งเราจะรวบรวมอาการคนท้องที่บ่งบอกว่าเป็นการแพ้ท้อง รวมทั้งความรู้ในด้านต่างๆด้วย

ระยะเวลาที่จะเกิดการแพ้ท้อง หลังจากมีการตั้งครรภ์

          ในอาการคนท้อง ระยะเวลาที่จะเกิดการแพ้ท้องนั้น คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์แต่ละท่านจะมีอาการในเวลาที่ไม่เท่ากัน อาจจะเป็นเพราะฮอร์โมนหรือการเจริญเติบโตของตัวอ่อน แต่จะมีการเริ่มแพ้ท้องในช่วง 6 สัปดาห์แรก หลังจากปฏิสนธิ ซึ่งบางคนอาจจะแพ้ท้องเร็วหรือช้ากว่านี้นิดหน่อย  และการแพ้ท้องนั้น คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์โดยทั่วไปจะหยุดแพ้ท้องช่วง 20 สัปดาห์ หรืออาจจะมีบางคนที่แพ้ท้องไปตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ หรือบางคนก็จะมีอาการแพ้ๆ หยุดๆ แล้วก็แพ้ท้องอีกก็มีเหมือนกัน จากสถิติพบว่า คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ มีการแพ้ท้องเกินกว่า 50 % โดยเฉพาะในระยะ 3 เดือนแรกที่เริ่มการตั้งครรภ์ มักจะมีอาการแพ้เยอะพอสมควร


ระดับของการแพ้ท้อง

อาการคนท้อง จะมีระดับของการแพ้ท้องแบ่งออกเป็น 3 ระดับจากน้อยไปมาก ดังนี้

1. แพ้ท้องระดับเล็กน้อย
อาการคนท้องในระดับนี้ จะมีการแพ้ท้องในช่วงเช้าของวัน โดยจะมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ อาเจียนบ้างบางครั้ง และรับประทานอาหารได้น้อยลง ในระดับนี้เป็นระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง สามารถใช้วิธีช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ (อ่านได้ในท้ายบทความ)

2. แพ้ท้องระดับปานกลาง
อาการคนท้องในระดับนี้ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ทานอะไรไม่ได้เลย ถึงแม้จะพักผ่อนแค่ไหน ก็ไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นเลย อาการคนท้องลักษณะนี้ ต้องรีบไปพบคุณหมอ เพื่อให้คุณหมอดูแลรักษา โดยคุณหมอจะให้น้ำเกลือ ฉีดกลูโคส เพื่อระงับการอ่อนเพลียเนื่องจากการอาเจียน และคุณหมอจะให้ยาระงับการคลื่นไส้ ซึ่งต้องกินก่อนจะมีการแพ้ รวมทั้งคุณหมอจะแนะนำวิธีการปรับตัวในการทานอาหาร ซึ่งหลังจากพบคุณหมอแล้ว อาการคนท้องของคุณแม่จะดีขึ้น

3.แพ้ท้องระดับรุนแรง
อาการคนท้องในระดับนี้ เป็นการแพ้ท้องของคุณแม่ที่มีอาการรุนแรง ซึ่งโดยทั่วไปจะพบได้เพียง 0.3-2% ของคุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ทั้งหมด ซึ่งในอาการคนท้องกลุ่มนี้จะมีการแพ้ท้องเร็วกว่าและยาวนานกว่าคุณแม่ทั่วไป โดยจะมีการอาเจียนมาก จนกินอะไรไม่ได้เลย บางคนอาจจะอาเจียนจนคออักเสบ มีเลือดจากเยื่อบุลำคอผสมออกมากับอาเจียน จนถึงขั้นเลือดออกใต้เยื่อบุตา อาเจียนมากจนทำให้ร่างกายขาดน้ำและอาหารจนอ่อนเพลียมาก ผู้ที่มีอาการคนท้องในระดับนี้ ต้องพบแพทย์และอยู่ใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด


แพ้ท้องมีอาการยังไง ?

แพ้ท้องเป็นอาการคนท้องทั่วไปที่พบได้ในคุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ ได้แก่

1. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เมื่อตื่นนอนตอนเช้า บางคนอาจมีอาการหน้ามืดเพราะอาเจียนเยอะทำให้ร่างกายขาดอาหาร

2. รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลาเพราะฮอร์โมนเปลี่ยนไปจึงทำให้เกิดการเตรียมความพร้อมของร่างกาย

3. มีอาการขมเฝื่อนในปาก เนื่องจากร่างกายที่เปลี่ยนไป ทำให้ทานอาหารไม่อร่อย

4. รู้สึกเหม็นกับบางสิ่งบางอย่าง ทั้งๆที่ก่อนหน้าที่จะมีการตั้งครรภ์ไม่ได้รู้สึกเหม็นกับสิ่งนั้นๆเลย

**หากอยากรู้อาการคนท้องที่ละเอียดกว่านี้ คลิ๊กที่นี่  >>  อาการของคนท้อง


แพ้ท้องเกิดจากสาเหตุอะไร

แพ้ท้องเป็นอาการคนท้องที่มีสาเหตุอยู่ 2 ประการ คือ

1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin (HCG) ที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงระบบประสาทการรับกลิ่นที่สูงขึ้น ประสาทรับรสที่เปลี่ยนไป รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ทำให้เกิดอาการแพ้ท้อง

2. เกิดจากความวิตกกังวล รวมไปถึงความเครียดของตัวคุณแม่เองด้วย ความวิตกกังวลและความเครียด ก็มีผลต่อการแพ้ท้อง บางคนที่มีความวิตกกังวลสูงจะยิ่งส่งผลทำให้เกิดการแพ้ท้องมากขึ้น


วิธีที่ช่วยลดการแพ้ท้อง

วิธีที่ช่วยลดอาการคนท้องในเรื่องการแพ้ท้องที่ใช้ได้ผล

1. ทันทีเมื่อคุณแม่ตื่นนอนให้รีบทานของขบเคี้ยวง่ายๆ และไม่หวานมาก เช่น บิสกิตหรือขนมปังกรอบจะช่วยได้อย่างมาก หลังจากนั้น ให้นอนพักอีกประมาณ 20-30 นาที ก่อนลุกออกจากเตียง

2. ในเวลาระหว่างวันนั้นให้แบ่งมื้ออาหารทีละน้อยๆ หลายๆมื้อ หรือทานครั้งละน้อยๆ แต่รับประทานบ่อยๆ ซื้อของขบเคี้ยวมาเก็บไว้ เช่น ขนมปังกรอบหรือโยเกิร์ตไว้ ทานเวลาหิว

3. ทาน อาหารที่มีโปรตีนสูง+อาหารที่มีโปรตีนสูง สามารถลดการแพ้ท้องได้ ควรทานอาหารทั้งสองอย่างนี้ร่วมกัน เช่น ไข่สุก+ขนมปัง เป็นต้น

4. พยายามดื่มน้ำให้มากๆ เช่น น้ำผลไม้ หรือน้ำขิงอุ่นๆ เพราะน้ำขิงสามารถช่วยลดการแพ้ท้องได้

5. พักผ่อนให้มากๆ ให้เพียงพอ แต่ไม่ควรนอนทันทีหลังจากทานอาหารเพราะจะทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ง่าย


ยังมีเรื่องราวสำหรับคุณแม่ที่น่าสนใจอีกมากมาย ติดตามได้ที่ >> http://women.sanook.com/mom-baby/pregnancy/

หลัง”การตั้งครรภ์” ฟื้นฟูด้วย ทับหม้อเกลือ

หลัง”การตั้งครรภ์” ฟื้นฟูด้วย ทับหม้อเกลือ

การตั้งครรภ์





การดูแลสุขภาพหลังการตั้งครรภ์ตามแบบฉบับแพทย์แผนไทยนั้น มีขั้นตอนและรายละเอียดที่ต้องใส่ใจ พิถีพิถันมากเป็นพิเศษ เพราะถือว่าการคลอดบุตรนั้นเป็นเรื่องใหญ่ โดยหลังจากการคลอดแล้วก็ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โรคแทรกซ้อน และปรับสมดุลร่างกายของคุณแม่หลังการตั้งครรภ์ให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด โดย “การทับหม้อเกลือ” ก็เป็นหนึ่งในขั้นตอนการดูแลสุขภาหลังคลอดที่จำเป็น

ทับหม้อเกลือเพื่ออะไร ?
หลังจากคลอดแล้ว ร่างกายของคุณแม่ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีไขมันสะสมที่หน้าท้อง ระดับของมดลูกเปลี่ยนแปลงไป ฯลฯ การทับหม้อเกลือจะช่วยให้มดลูกรัดตัวเข้าอู่ดีและเร็วขึ้น แก้อาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ทำให้น้ำคาวปลาไหลดีขึ้น ลดไขมันหน้าท้อง โดยทำเพียงครั้งละ 2 ชั่วโมง ต่อเนื่อง 3 – 5 วัน ก็จะเห็นผลแล้ว และสาเหตุที่ต้องใช้เกลือ ก็เพราะเกลือมีสรรพคุณช่วยนำพายาสมุนไพรต่างๆ ซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดี โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ไม่ใช่เพียงคำกล่าวอ้างหรือคำบอกเล่าต่อๆกันมา แต่มีงานวิจัยยืนยันถึงผลการรักษาจากหลากหลายสถาบัน

สมุนไพรที่ต้องใช้
- ไพรสด 1 ส่วน
- ว่านนางคำ ½ ส่วน
- ว่านชักมดลูก ½ ส่วน
- การบูร พอประมาณ
- ใบพลับพลึง

วิธีการเตรียมยา
- ล้างไพร ว่านนางคำและว่านชักมดลูกให้สะอาด ไม่ต้องปลอกเปลือก หั่นแล้วตำพอหยาบๆ ผสมการบูรลงไป
- นำสมุนไพรที่ได้ไปวางบนผ้าขาวที่จะใช้ห่อหม้อเกลือ แล้วนำใบพลับพลึง 2 ใบ มาวางทับเป็นรูปกากบาท
- จากนั้นนำหม้อเกลือที่ตั้งไฟร้อนได้ที่วางทับใบพลับพลึง ห่อผ้า มัดให้แน่นพอเหมาะมือ

วิธีทับหม้อเกลือ
นอนหงาย ให้โกยท้องก่อน แล้วจึงนำเอามุมหม้อเกลือวางอังไปรอบๆ หมุนวน 1 รอบ วางพักหม้อเกลือเหนือหัวเหน่า แล้วหมุนทำใหม่ 5 – 6 รอบ โดยมีข้อควรระวังคือ หม้อต้องไม่ร้อนเกินไป เพราะผ้าอาจไหม้ได้ บริเวณใต้อกห้ามวางแรง เพราะจะทำให้จุกแน่นได้ และต้องโกยลำไส้ก่อนทำทุกครั้งเพื่อไม่ให้ไส้พอง

ข้อควรระวัง
- ไม่ควรทำในขณะที่มีไข้
- ไม่ควรทำหลังทานข้าวอิ่มใหม่ๆ
- การทับหม้อเกลือ เหมาะสำหรับการคลอดแบบธรรมชาติ หากเป็นการผ่าตัดคลอด ต้องรอ 30 – 45 วัน หลังคลอด จึงจะทับหม้อเกลือได้


อ่านเรื่องราวดีสำหรับคุณแม่ต่อ >>> http://women.sanook.com/mom-baby/

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หากคุณมี การตั้งครรภ์ ควรตรวจ ดาวน์ซินโดรม !!

หากคุณมี การตั้งครรภ์ ควรตรวจ ดาวน์ซินโดรม !!

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์


          สำหรับคู่แต่งงานแล้วมักจะมีความเสี่ยงต่อการมีบุตรที่มีกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมมากกว่าคนธรรมดาทั่วๆไป ผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์ควรมีความจำเป็นได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน ของกลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม  ระหว่างการตั้งครรภ์  ในยุคแห่งความทันสมัยในปัจจุบันนี้มักมีการให้คำปรึกษาทางด้านพันธุกรรมเพื่อหาความผิดปกติและวิธีแก้ไขทางด้านพันธุกรรมพร้อมกับการตรวจทางพันธุกรรม  เช่น

-การตรวจชิ้นเนื้อรก (chorionic villus sampling)
          เป็นการใช้เครื่องมือทางการแพทย์เจาะผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและเก็บเนื้อรกเพียงแค่เล็กน้อยออกมา  เพื่อนำไปตรวจวินิฉัยได้ โดยใช้เทคนิคการเจาะน้ำคร่ำในหญิงที่มีอายุครรภ์ประมาณ 9-12 สัปดาห์ ทำให้ทราบถึงความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้เร็วขึ้น และสามารถให้การช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที วิธีการตรวจชิ้นเนื้อรกนั้น ถือเป็นการตรวจแบบเจ็บตัว เพราะต้องมีการใส่เครื่องมือเข้าไปในมดลูก จึงมีความเสี่ยงมากต่อการเกิดปัญหาการแท้งบุตรหรือการเกิดอันตรายต่อทารกได้ง่าย

-การเจาะน้ำคร่ำ( amniocentesis)
          ทำได้โดยการเจาะดูดเอาน้ำคร่ำในปริมาณที่น้อยจากถุงน้ำคร่ำที่อยู่รอบๆ ทารกในครรภ์ ในน้ำคร่ำนี้จะมีเนื้อเยื่อของทารกอยู่และทำให้ สามารถสกัดเซลล์ออกมาตรวจ DNA หาความผิดปกติทางพันธุกรรมได้

-การเก็บเลือดจากรก และสายสะดือ  (percutaneous umbilical cord blood sampling)
          คือ การเก็บเอาเลือดที่ค้างอยู่ในรกและสายสะดือที่เต็มไปด้วยสเต็มเซลล์มากมาย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆได้การตรวจโดยวิธีนี้สามารถทำได้ทั้งภายหลังการคลอดและจะกระทำหลังจากที่สายสะดือถูกหนีบและตัดแยกออกจากตัวของทารก


อ่านเรื่องอื่นเพิ่มเติม : http://women.sanook.com/mom-baby/pregnancy/

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

"อาการคนท้อง"แปลกๆ ที่ทำไปได้ยังไง ?

อาการคนท้อง

"อาการคนท้อง"แปลกๆ ที่ทำไปได้ยังไง ?


          สำหรับคุณแม่ที่มีประสบการณ์มาแล้ว จะรู้เลยว่าระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีการตั้งครรภ์จนถึงตอนคลอดลูกนั้น ในแต่ละเดือนต้องอดทนกับบททดสอบทั้งอึดและทรมานมากขนาดไหน กว่าจะได้เป็นคุณแม่ที่รักลูกยิ่งกว่าอะไรทุกวันนี้ โดยเฉพาะช่วงของการตั้งครรภ์ใหม่ๆ อาจจะต้องเจอเรื่องแปลกๆ ที่ไม่คิดว่าตอนท้องทำไปได้ยังไง



เกลียดหน้าสามี
อาการคนท้องลักษณะนี้อาจเกิดจากอารมณ์ที่แปรปรวนขณะมีการตั้งครรภ์ เกิดขึ้นจากฮอร์โมนในร่างกายอยู่ในภาวะไม่สมดุล ทำให้มีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ได้ ข้อนี้สามีต้องเข้าใจนะคะ


กินเผ็ดๆ มากๆ ทั้งที่ไม่เคยกินเผ็ด
บางทีตอนท้องก็ทำให้เราได้รู้จักกับรสชาติใหม่ๆ หรืออะไรที่ไม่เคยได้กินจริงๆ แต่เรื่องกินเผ็ด การกินอาหารรสจัด ระหว่างตั้งท้องเป็นข้อควรงด เพื่อที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์นะคะ


กินแต่ผักกาดขาวสด แช่เย็นๆ ทุกวันเป็นเดือน
เรื่องแพ้แล้วกินผักมาก น่าจะเป็นผลดีต่อร่างกายนะคะ คุณค่าของผักกาดขาวมีแคลเซียมและวิตามินซีในปริมาณสูงที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก ซึ่งในช่วงท้องการกินสารอาหารที่ให้แคลเซียมจะช่วยบำรุงกระดูกได้อย่างดี


ชอบดมกลิ่นไบก้อนหรือหอมกลิ่นเท้า หอมกลิ่นของที่เหม็นๆ
คุณแม่ท้องส่วนใหญ่จะมีปฏิกิริยาที่ตรงกันข้ามกับชีวิตจริงมาก เรื่องชอบของเหม็นตอนท้องเห็นจะเข้าวินกันหลายคน ส่วนของอย่างเช่น น้ำหอม ก็รู้สึกเหม็นพะอืดพะอมกันเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้การดมของเหม็นอย่างพวกสารเคมีที่กลิ่นแรงๆ อาจไม่ส่งผลดีต่อลูกในท้องมากนัก ต้องหักห้ามใจเอาไว้


ชอบดมกลิ่นที่มันอยู่ในสายยางรดน้ำ หรือกลิ่นอับๆชื้นที่อยู่ในตู้
เชื่อเขาไหมละขนาดตอนยังไม่ท้องจะให้หยิบสายยางหรือไปยืนหน้าตู้เสื้อผ้าเพื่อสูดดมกลิ่นอับยังไม่คิดจะทำเลย แต่ตอนท้องนี่กลิ่นแบบนี้ทำไมรู้สึกหอม..ก็ไม่รู้สินะ


อยากกินถั่วฝักยาวลวกจิ้มซอสมะเขือเทศ
ท้องแล้วอยากกินอะไรแปลกได้หมด เอาถั่วฟักยาวมาจิ้มซอสมะเขือเทศแทนจิ้มกะปิก็อร่อยไปอีกแบบนะ แถมถั่วฟักยาวยังช่วยแก้อาการท้องอืด แน่นท้อง ได้ด้วย


ที่มา : http://women.sanook.com/38541/
ดูเรื่องอื่น : http://women.sanook.com/mom-baby/pregnancy/

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สวยแซ่บได้ แม้อยู่ในช่วง “การตั้งครรภ์”

สวยแซ่บได้ แม้อยู่ในช่วง “การตั้งครรภ์

คุณแม่ก็สวยได้แม้อยู่ในช่วง "การตั้งครรภ์"


          เรื่องความสวยความงามของผู้หญิงอย่างเราๆ ถือเป็นของคู่กัน ขาดกันไม่ได้เลยใช่ไหมคะ ฮ่าๆๆ ถึงแม้คุณกำลังอยู่ในช่วงเวลาของ “การตั้งครรภ์” แต่เรื่องความสวยก็อย่าได้เป็นรองใครค่ะ โดยเฉพาะช่วงเวลาพิเศษที่มีเจ้าตัวน้อยอยู่ในท้องด้วย ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ไหนจะต้องถ่ายเพื่อดูพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยทุกเดือน ดูขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เสื้อผ้าเอย หน้าผมเอย รวมไปถึงผิวพรรณก็ต้องดูแลให้เด้งอยู่เสมอ แต่ก็ลืมไม่ได้เลยนะคะว่าควรคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าตัวน้อยไว้ก่อน ทีนี้เรามาดูกันว่า คุณแม่ยังสวยแบบเราๆนี้ทำอะไรกันได้บ้าง ไปดูกันเล้ยยยย ^^





ทำสีผม
          จากที่เคยได้ยินกันมาว่า หากคุณแม่ทำสีผมจะทำให้เจ้าตัวน้อยได้รับสารเคมีไปด้วย อันนี้จะจริงรึเปล่านั้นยังไม่มีงานวิจัยที่บ่งบอกแน่ชัดค่ะ แต่หากคุณแม่อยากทำนั้น ควรรอให้อายุครรภ์มากสักหน่อย ให้เจ้าตัวน้อยได้พัฒนาอย่างเต็มที่เสียก่อนนะคะ หรืออาจจะเลือกทำแค่ไฮไลท์แทนการย้อมทั้งหมด เพราะการทำไฮไลท์นั้น สารเคมีจะไปไม่ถึงหนังศีรษะค่ะ มีโอกาสน้อยกว่าในการเข้าสู่กระแสเลือด แต่อย่างไรก็ตามแนะนำให้ผ่านช่วงแรกของการตั้งครรภ์ไปก่อนค่ะ

ดัดผม
           ยังไม่มีการศึกษาที่พบว่า น้ำยาดัดผมเป็นอันตรายต่อลูกในท้องนะคะ ยกเว้นแต่เพียงกลิ่นที่แรงมากของน้ำยา อาจจะทำให้คุณแม่มีอาการคลื่นไส้ เวียนหัวได้
และอีกหนึ่งปัญหาก็คือ การดัดผมขณะตั้งครรภ์อยู่นั้น สภาพผมของคุณแม่อย่างเราอาจไม่แข็งแรง ดัดออกมาอาจไม่ตรงตามที่ต้องการ ทางที่ดีรอให้คลอดก่อนดีกว่านะคะ

นวดหน้า / นวดตัว
          จากผิวพรรณที่เคยเปล่งปลั่ง แต่ในช่วงของการตั้งครรภ์ เราก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่า ผิวพรรณของเราจะเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด การนวดหน้านวดตัวจึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับคุณแม่ แต่แนะนำให้หลีกเลี่ยงการขัดหรือสครับผิว เพราะผิวของคุณแม่จะค่อนข้างบอบบางในช่วงของการตั้งกรรภ์ และควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวดให้มีกลิ่นเบาๆเพื่อผ่อนคลายตัวคุณแม่เองนะคะ

ทำเล็บ
          เย้ ยินดีด้วยค่ะ คุณแม่ทั้งหลาย เพราะเราสามารถทำเล็บได้ ทั้งทาเล็บ ต่อเล็บ ติดเล็บ ได้หมดเลยค่ะ ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นไหนพบว่าสารเคมีในน้ำยาทาเล็บเป็นอันตราย แต่อย่างไรก็ตาม ระวังเรื่องกลิ่นกันหน่อยนะคะ อาจะทำให้คุณแม่เวียนหัวคลื่นไส้ได้ เป็นอาการคนท้องที่พากันเหนื่อยไปตามๆกัน จมูกไวต่อกลิ่นสะเหลือเกิน ^^

แต่งหน้า
          ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง ไม่เว้นแม้แต่คนท้อง จริงไหมคะคุณแม่คนสวยทั้งหลาย
คุณแม่หลายคนแต่งหน้าเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ต้องไม่แต่งเพราะกลัวอันตรายต่อเจ้าตัวน้อย แต่จริงๆแล้วเราสามารถแต่งได้นะคะ แต่ระวังการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันหน่อย ให้เลือกชนิดที่ระบุว่า noncomedogenic หรือ nonacnegenic ก็คือปราศจากน้ำมันและไม่อุดตันรูขุมขนนั่นเอง ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ใช้ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อเจ้าตัวน้อย แต่ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ retinol หรือ salicylic acid ซึ่งจะพบในยารักษาสิวสะส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ต้องการความปลอดภัย 100% แนะนำให้เลือกใช้เครื่องสำอางค์ที่เป็น minerals-onlymakeup ซึ่งจะติดอยู่บนผิวหน้าเท่านั้น ไม่ถูกดูดซึมลงไปใต้ผิวหนังและไม่ทำให้เกิดอาการแพ้

**รู้อย่างงี้แล้วก็ไปดูแลตัวเองให้สวยอยู่เสมออย่างถูกวิธีและปลอดภัยต่อลูกน้อยกันนะคะ

ขอบคุณที่มา : http://women.sanook.com/36229/
ติดตามเรื่องอื่นๆเพิ่มเติม : http://women.sanook.com/mom-baby/

รู้หรือไม่ว่า ทุเรียนคือ"อาหารคนท้อง"

ทุเรียนคือ"อาหารคนท้อง"

อาหารคนท้อง


อาหารคนท้อง


          คนที่กำลังมีน้องคงไม่ปฏิเสธการที่จะสรรหาอาหารดีๆมาเพื่อบำรุงเจ้าตัวน้อยให้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ และอีกสิ่งหนึ่งที่เชื่อว่าคุณแม่ๆหลายคนจะต้องชอบนั้นก็คือ ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้นั่นเอง เพราะว่าในทุเรียนนั้นมีสารที่ชื่อว่า “โฟเลต” ซึ่งผลงานวิจัยตรวจผลแล้วว่า โฟเลตเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกายและยังสามารถที่จะช่วยป้องกันให้เจ้าตัวน้อยไม่พิการ ช่วยหยุดภาวะการเป็นอัลไซเมอร์ได้ดี และนอกจากทุเรียนยังมี ขนุน กล้วยไข่ ลิ้นจี่ อีกด้วย จากงานวิจัยยังพบอีกว่า โฟเลตนั้นเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับทุกๆคน ไม่ใช่เพียงแต่คนท้องเท่านั้น ไม่ท้องก็ทานได้นะคะ และถ้ายิ่งท้องร่างกายก็จะต้องการโฟเลตมาก สามารถรับประทานอาหารที่มีโฟเลตเพื่อเป็นการบำรุงครรภ์ได้ดี เพราะหากขาดโฟเลตจะทำให้ลูกน้อยมีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ หรือกระดูสันหลังไม่ปิดได้ และโฟเลตยังช่วยยับยั้งภาวะการเป็นอัลไซเมอร์ในคนแก่ได้ด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป เพื่อความสมดุลของร่างกายนะคะเพราะว่าทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลและให้พลังงานได้ค่อนข้างสูง --ทานเพียงสองเม็ดก็น่าจะเพียงพอแล้วกับปริมานโฟเลตที่คสรได้รับ ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัว แค่เม็ดก็พอแล้วนะคะ และที่สำคัญควรสลับเปลี่ยนกันไป อย่าทานแต่ทุเรียนเพียงอย่างเดียว คุณแม่ควรทานอาหารให้ครบหมู่ทั้งห้า เพื่อพัฒนาการที่ดีของทารกในครรภ์ค่ะ


อ่านเรื่องอื่นต่อ... คลิ๊ก !


วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

“การตั้งครรภ์” ในช่วงอากาศที่ร้อนจัดแบบนี้ คุณแม่ควรดูแลตัวเองยังไงดี ?

“การตั้งครรภ์” ในหน้าร้อน คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร ?

"การตั้งครรภ์"ช่วงหน้าร้อน คุณแม่ดูแลตัวอย่างไรดี





          การตั้งครรภ์ในช่วงที่อากาศร้อนๆแบบนี้ คงต้องการความสะดวกสบายเป็นธรรมดา เพราะว่าช่วงอากาศร้อนจะเป็นช่วงที่อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายเป็นอย่างมาก อาการเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ หากคุณแม่มีความเครียดสะสมในร่างกาย เรามาศึกษาและแก้ไขปัญหากับการตั้งครรภ์ช่วงระหว่างหน้าร้อนกันดีกว่าค่ะ

- ดื่มน้ำสะอาด
การได้ดื่มน้ำหวานๆเย็นๆต่างๆคงทำให้ดับกระหายดับร้อนได้ดี แต่ทางที่ดีแนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าที่สะอาด เนื่องจากในช่วงหน้าร้อนถ้าหากคุณแม่ดื่มน้ำหวานมากเกินไปและถ้าไม่มีการขับออกมาด้วยการออกกำลังกาย อาจทำให้เกิดปัญหาได้ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน หรืออื่นๆ ดังนั้นควรจะดื่มน้ำเปล่าเพื่อคลายร้อนดีกว่านะคะ แล้วก็อย่าลืมละเว้นความเครียดต่างๆด้วยนะคะ

- อย่าเครียด
          อากาศที่ร้อนขึ้นอาจจะทำให้คุณแม่ๆยิ่งเกิดความเครียด จะทำอะไรก็หงุดหงิด เหงื่อออกไปหมด การแก้ปัญหานี้อาจจะเป็นการอาบน้ำไม่ให้ตัวเหนียวเหนอะหนะ ทาแป้งอ่อนโยน แป้งเด็กให้สบายตัว เปิดเพลงฟัง นอนให้สบายๆ ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อสุขภาพจิตที่ดี แจ่มใสในด้านต่างๆนะคะ

- ไม่ทานอาหารรสจัด
          หากว่าคุณแม่ยิ่งรับประทานอาหารรสจัดเข้าไปมากเท่าไหร่ก็จะทำให้ยิ่งร้อนมากขึ้นเท่านั้น ทำให้เหงื่อออก ทำให้เกิดความไม่สบายตัวและอื่นๆอีก ไม่ว่าจะเป็นความเครียดเนื่องจากร้อนมากขึ้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่รสชาติกลางๆและดื่มน้ำเย็นๆนะคะ

- ว่ายน้ำ
          คุณแม่สามารถที่จะว่ายน้ำในขณะที่กำลังมีน้องได้นะคะ แต่เป็นการว่ายแบบพักผ่อนเบาๆเพื่อจะได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วย การว่ายน้ำจัดว่าเป็นการออกกำลังกายที่ดีแต่หากอายุครรภ์ของคุณแม่มากแล้ว แนะนำให้อยู่บ้านดีกว่านะคะ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ แต่ถ้าเป็นในช่วงอายุครรภ์ยังน้อยๆอยู่ก็ไปว่ายน้ำเบาๆเป็นการคลายร้อนกันได้นะคะ
- ทานผลไม้
แนะนำให้คุณแม่ทานผลไม้ที่รสชาติไม่หวานจนเกินไป เพราะรสชาติความหวานต่างๆจะเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้คุณแม่เป็นโรคต่างๆได้ คุณแม่อาจจะรับประทานแตงโมหรืออื่นๆเพื่อให้ร่างกายได้รับความชุ่มชื่นและสดชื่นขึ้นจากอากาศร้อนๆแบบนี้นะคะ

- ดูรายการโทรทัศน์
การพักผ่อนด้วยการนอนดูรายการทีวีก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่คลายเครียดได้ดี อาจจะนอนดูให้ห้องที่เปิดแอร์เย็นๆหรือในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวกก็ได้ แต่ควรลุกขึ้นเดินวนไปวนมาบ้างเพื่อให้เลือดลมเดินและจะได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเพราะการนอนอยู่กับที่ทั้งวันไม่เป็นผลดีนะคะคุณแม่ทั้งหลาย

- พักเรื่องทำงานบ้าน
คุณแม่ที่มีงานบ้านหรืออะไรต่างๆที่จะต้องทำ แนะนำให้ปล่อยวางไว้บ้าง ยิ่งทำอาจจะยิ่งทำให้ร้อนมากกว่าเดิมและอาจจะทำให้หงุดหงิดจนกลายเป็นความเครียดซึ่งจะส่งผลไปถึงเจ้าตัวน้อยด้วยนะคะ

ข้อควรรู้สำหรับคุณแม่นะคะ
ในช่วงของการตั้งครรภ์ ถ้าคุณแม่เกิดความเครียดจะส่งผลให้เจ้าตัวน้อยในท้องมีความเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากคุณแม่ได้นะคะ ผลการวิจัยจากที่ต่างๆได้บอกไว้ว่า หากคุณแม่เครียด เมื่อเจ้าตัวน้อยเกิดมาจะเลี้ยงยาก อารมณ์รุนแรงและก้าวร้าว และอีกหลายๆอย่างๆ อาจจะสมาธิสั้น หรืออื่นๆ เพราะฉะนั้นคุณแม่ห้ามเครียดนะคะ แนะนำให้หาทุกวิถีทางเพื่อผ่อนคลายความเครียด ทำสุขภาพร่างกายและจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่ตลอดนะคะ


อ่านเรื่องอื่นๆเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ได้ที่ : http://women.sanook.com/mom-baby/pregnancy/

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

"การตั้งครรภ์" คืออะไร ?

"การตั้งครรภ์" คือ ?

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์  คือ ระยะเวลานับตั้งแต่วันแรกที่เกิดการปฏิสนธิของอสุจิกับไข่จนเกิดเป็นตัวอ่อนที่พัฒนาไปเป็นทารกเรื่อยไปจนถึงการคลอด โดยทั่วไปมนุษย์จะใช้เวลาในการตั้งครรภ์ประมาน 40 สัปดาห์ หรือราวๆ 9 เดือน

- การตั้งครรภ์เดี่ยว



อยากมีลูก


การตั้งครรภ์เดี่ยว คือ การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติตามภาวะของผู้หญิงที่จะมีการตกไข่ครั้งละหนึ่งใบเมื่อได้รับการปฏิสนธิจากสเปิร์มตัวที่แข็งแรงที่สุดเพียงหนึ่งตัว และเกิดการแบ่งตัวเพียงเซลล์เดียวอย่างรวดเร็วตลอดระยะเวลา 40 สัปดาห์ในครรภ์

- การตั้งครรภ์แฝด




การตั้งครรภ์แฝด คือ มีตัวอ่อน 2 ตัวขึ้นไปของการตั้งตั้งครรภ์ โดยแบ่งเป็นลักษณะต่างๆ ดังนี้

แฝดจากไข่ใบเดียว
     จะเกิดจากความผิดปกติของการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว ซึ่งเป็นไข่ใบเดียวที่แบ่งเซลล์ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยส่วนใหญ่จะเกิดหลังจากที่มีการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้วในโพรงมดลูก ในแฝดประเภทนี้จะมีรกอันเดียวกัน สามารถพบได้ประมาณร้อยละ 30 ของแฝดทั้งหมด  แฝดที่เกิดจะมีลักษณะเหมือนกันทุกอย่าง ทั้งรูปร่าง หน้าตา สีผม รวมไปถึงเพศและกรุ๊ปเลือดก็จะเหมือนกันหมดทุกอย่าง

แฝดจากไข่สองใบ หรือมากกว่านั้น
     แฝดประเภทนี้จะพบได้ประมาณร้อยละ 70 ของแฝดทั้งหมด โดยแฝดอาจจะเป็นเพศเดียวกันหรืออาจจะคนละเพศก็ได้ ลักษณะหน้าตาอาจจะคล้ายกันหรือผิดเพี้ยนกันไป เหมือนกับลักษณะของพี่น้องทั่วไป แฝดประเภทนี้จะพบมากในการตั้งครรภ์หลังๆ หรือคุณแม่ที่มีอายุมากๆแล้ว จะเกิดจากรังไข่ทำงานผิดปกติ หรือคุณแม่ที่กินยากระตุ้นรังไข่ หากไข่ตกครั้งนึงมากกว่า 1  ใบ เมื่อได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิคนละตัวกันแล้วเจริญเติบโตมาเป็นแฝด โดยที่เด็กแฝดจะแยกรกกัน



ดูเรื่องราวอื่นๆ >> SANOOK

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

"อาหารคนท้อง" ที่จำเป็น !

สารอาหารที่จำเป็นต่อ "การตั้งครรภ์"

          อาหารคนท้อง นับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อเจ้าตัวน้อยในครรภ์ เพราะนอกจากจะมีผลกับคุณแม่ในตอนตั้งครรภ์แล้ว ยังส่งผลไปถึงเจ้าตัวน้อยในระยะยาวอีกด้วย
ในระหว่าง การตั้งครรภ์ คุณแม่อย่างเราๆต้องการพลังต่อวันเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 500 กิโลแคลอรี่ เพื่อให้ได้สารอาหารเพียงพอต่อคุณแม่และเจ้าตัวน้อยด้วย เพราะเจ้าตัวน้อยนั้นจะได้รับสารอาหารและพลังงานทั้งหมดจากคุณแม่เพียงคนเดียว นอกจากคุณแม่จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้ว เจ้าตัวน้อยก็มีการเจริญเติบโตที่ดีไปด้วย



สารอาหารที่จำเป็นเมื่อคุณมี การตั้งครรภ์

- โปรตีน 
โปรตีนสำคัญที่สุดสำหรับทารกในครรภ์ เพราะกรดอมิโนที่อยู่ในโปรตีนจะช่วยในการเสริมสร้างส่วนต่างๆของร่างกายให้เจริญเติบโต และโปรตีนยังเป็นส่วนประกอบสำคัญเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆที่ประกอบกันเป็นกล้ามเนื้อ อวัยวะภายในและกระดูกอีกด้วย

- คาร์โบไฮเดรต
ในระหว่าง การตั้งครรภ์ คุณแม่จะได้รับพลังงานส่วนใหญ่จากคาร์โบไฮเดรต โดยทั่วไปอาหารที่แม่คาร์โบไฮเดรตก็จะเป็นพวกน้ำตาลในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำตาลทราย ฟรุกโทสจากผลไม้ กลูโคสจากน้ำผึ้ง กาแล็กโทส มอลโทส แล็กโทสจากนม ซึ่งน้ำตาลจำพวกนี้สามารถถูกดูดซึมได้รวดเร็วในระบบทางเดินอาหาร และสามารถให้พลังงานได้ทันที หากร่างกายจำเป็นต้องใช้อย่างเร่งด่วน เช่น ตอนที่แพ้ท้องหนักๆ กินอาหารไม่ได้ อาจทำให้เป็นลมเพราะน้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอ ของหวานหรือลูกอมจะช่วยให้สดชื่นขึ้นได้

- วิตามิน
ส่วนมากจะพบใน ผัก ผลไม้ มากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด วิตามินมักถูกทำลายได้ง่าย หากถูกความร้อนหรือแสง และมีหลายชนิดที่ร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้ เช่น วิตามินซี คุณแม่ทั้งๆจึงควรที่จะรับประทานผลไม้และผักสดทุกวัน

- เกลือแร่
คุณแม่ตั้งครรภ์ร่างกายจะต้องการเกลือแร่โดยเฉพาะแคลเซียมและธาตุเหล็ก เพื่อนำมาใช้ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ อาหารที่รับประทานในแต่ละวันจึงควรมีปริมาณเกลือแร่ที่เพียงพอ เพราะเกลือแร่เป็นองค์ประกอบทางเคมีที่มีผลต่อการทำงานของร่างกาย 

- แคลเซียม
การเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกจำเป็นต้องใช้แคลเซียมเป็นส่วนประกอบ อาหารที่คุณแม่ควรทาน เช่น กุ้งแห้ง ผักสีเขียว นม ถั่วต่างๆ หากดื่มนมไม่ได้ก็ต้องทานแคลเซียมเสริม และควรรับประทานไข่ เพราะวิตามิน D ในไข่ จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น

- เหล็ก
ฮีโมโกบิน ที่เป็นตัวนำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย รวมไปถึงรกด้วย มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามธาตุเหล็กจำเป็นต้องอาศัยธาตุสังกะสีในการดูดซึม คุณแม่ทั้งหลายจึงควรรับประทาน ปลาหมึก เนื้อปลา และอาหารทะเลให้เพียงพอ ส่วนอาหารที่ให้ธาตุเหล็กได้แก่ เนื้อปลา ไข่แดง ถั่วเหลือง กะเพรา ตำลึง งาขาว เป็นต้น

- โฟลิก
ในขณะตั้งครรภ์ ร่างกายจะต้องการวิตามินต่างๆเพิ่มขึ้นอีกประมาน 30% โดยเฉพาะกรดโฟลิก ร่างกายจะต้องการมากกว่าเดิม 1 เท่าตัว เพราะกรดโฟลิกเป็นวิตามินที่จำเป็นในการสร้าง DNA เป็นสารพันธุกรรมที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง การแบ่งเซลล์ และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่างๆ พบได้ในตับ ผักโขม ผักคะน้า แคนตาลูป กล้วย เป็นต้น  

- น้ำ 
การดื่มน้ำสะอาดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ รวมไปถึงการดื่มน้ำผลไม้ 100% เพราะสารน้ำในร่างกายและเลือดมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้มากและเพียงพอในแต่ละวัน

อ่านเพิ่มเติม : http://women.sanook.com/mom-baby/pregnancy/

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประจำเดือนและ "การตั้งครรภ์"

การมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์

          สาวๆหลายคนที่ยังข้องใจเกี่ยวกับเรื่องการมีประจำเดือนหรือ การตั้งครรภ์ อยู่ วันนี้เรามี Animation มาให้ดูกัน เพื่อจะได้เข้าใจง่ายๆนะคะ ไปดูกันเล้ยยยยยย !!
          เป็นยังไงกันบ้างคะสาวๆ เข้าใจมากขึ้นไหมเอ่ย หวังว่าคลิปวิดีโอนี้จะช่วยให้คุณสาวๆเข้าใจมากขึ้นนะคะ และต้องขอขอบคุณที่มาของคลิปวิดีโอดีๆจาก : สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย
อ่านเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับการตั้งครภ์ อาหารคนท้อง อาการคนท้อง อาการตั้งครรภ์ เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการอยากมีลูก ทั้งหมดได้ที่ http://women.sanook.com/mom-baby/pregnancy/

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

"อยากมีลูก" แต่ประจำเดือนมาไม่ปกติ !

มีลูกยากเพราะประจำเดือนมาไม่ปกติ จริงหรอ ?


          สาวๆหลายๆคนที่ อยากมีลูก แต่ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจเข้าใจว่าทำให้มีบุตรยาก สาวๆที่อยากจะเป็นคุณแม่หลายคนคงพยายามหาทางแก้ไข แต่การที่ประจำเดือนมาไม่ปกตินั้นจะทำให้มีเจ้าตัวน้อยยากจริงหรือเปล่า และถ้าจริง เราควรแก้กันอย่างไรบ้าง

1.น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน / น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินในช่วงเวลาอันสั้น
ความอ้วนจะส่งผลต่อฮอร์โมนเพศ ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ คนที่อ้วนมากเกินไป จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะประจำเดือนมาไม่ปกตินั่นเอง

2.น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน / น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น 
ไม่ใช่เพียงน้ำหนักมากเกินไปเท่านั้น น้ำหนักตัวที่น้อยเกินไปก็ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้เช่นกัน เพราะอัตราส่วนของไขมันจะมีสัดส่วนไม่พอเหมาะกับมวลของร่างกาย  เมื่อไขมันสะสมลดลง อาจมีผลกระทบให้ร่างกายหยุดการผลิตไข่ได้ จึงเป็นผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

3.ออกกำลังกายหักโหมเกินไป
ปัญหานี้มักพบบ่อยในหมู่นักกีฬาที่โหมออกกำลังกายอย่างหนักเป็นประจำ ซึ่งจะส่งผลเหมือนกับคนที่น้ำหนักตัวลดลงมากเกินไป ไขมันสะสมจึงลดลงอย่างมากจนร่างกายอาจหยุดผลิตไข่ ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกตินั่นเอง

4.การรับประทานยา
หากคุณรับประยาคุมกำเนิด ประจำเดือนของคุณก็จะถูกควบคุมไปด้วย ฮอร์โปรเจสเตอโรนในยาเม็ดคุมกำเนิด อาจจะทำให้รอบเดือนมาไม่ปกติ บางเดือนมาน้อยหรือบางเดือนอาจไม่มาเลยก็ได้

5.อุ้งเชิงกรานมีปัญหา
ภาวะเยื่อพรหมจารีไม่เปิด (Imperforate hymen) อันที่จริงแล้วประจำของคุณอาจจะมาเป็นประจำทุกเดือน แต่ขังอยู่ในโพรงมดลูกและช่องคลอด หรือที่เรียกว่า ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome) ที่ทำให้รอบเดือนของคุณมีระยะห่างระหว่างรอบมากขึ้น

      อันที่จริงแล้วการที่ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติไม่มีผลต่อโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าคนที่มีประจำเดือนมาเป็นปกติ  ความสามารถในการตั้งครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับการตกไข่ (และไข่ต้องมีสุขภาพที่ดีจากรังไข่หรือเป็นไข่ที่สมบูรณ์) มากกว่าช่วงระยะการมาของประจำเดือน  หากการตกไข่ของคุณเป็นปกติ โอกาสที่คุณจะตั้งครรภ์ก็จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ  แต่อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนไม่มา มาน้อยไปหรือมากไป นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนได้ว่าคุณไม่มีการตกไข่ แต่ในผู้หญิงที่ไข่ไม่ตกบางคน ก็อาจมีประจำเดือนมาตามปกติได้ การที่ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ เป็นสาเหตุสำคัญของภาวการณ์มีลูกยากมากถึง 30 -40 %

เคล็ด(ไม่)ลับ / แนวทางการแก้ไข สำหรับสาวๆที่ "อยากมีลูก"
- ถ้าหากว่ารอบเดือนของคุณสาวๆทั้งหลายมาไม่ปกติ ก็มีโอกาสที่จะเป็นไปได้ว่าการตกไข่ของคุณผู้หญิงไม่สม่ำเสมอหรือไข่อาจไม่ตกเลย เราสามารถตรวจสอบแบบคร่าวๆได้หลายวิธี
1. ตรวจสอบเมือกปากมดลูก
2. ใช้เครื่องมือตรวจการตกไข่
3. วัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน
**ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้ใช้ทั้งสามวิธีในการตรวจสอบ**

- ใช้ยากระตุ้นการตกไข่ แต่ที่สำคัญก็ต้องคำนึงถึงอาการแทรกซ้อนอื่นๆด้วย เช่นภาวการณ์ผิดปกติของต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ หรือ ต่อมหมวกไต

- ลดการออกกำลังอย่างหักโหมลง เพราะผู้หญิงเรานั้นจำเป็นต้องมีระดับไขมันที่เหมาะสม เพื่อการตกไข่จะได้เป็นไปตามปกติ

- ลดน้ำหนัก เพราะความอ้วนมีผลต่อระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวกับรังไข่ และมีผลต่อการตกไข่ด้วย นอกเหนือไปกว่านั้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ระดับอินซูลินมีปริมานเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้รังไข่ของคุณสาวๆผลิตฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป จนไข่หยุดตกได้


อ่านเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับการตั้งครภ์ อาหารคนท้อง อยากมีลูก อาการคนท้อง อาการตั้งครรภ์ เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการอยากมีลูก ทั้งหมดได้ที่ http://women.sanook.com/mom-baby/