โรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ VS โรคเบาหวานขณะการตั้งครรภ์
เป็นเบาหวานขณะการตั้งครรภ์ อันตราย !!
ในปัจจุบันเราพบผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานกันมากขึ้น อาจจะเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างจะเอื้ออำนวย เช่นการทานอาหารรสหวาน น้ำหนักตัวมาก หรือกินดีอยู่ดีมากไป เป็นต้น และการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย
สำหรับคุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ จะสามาเป็นโรคเบาหวานได้ 2 แบบนะคะ
1.โรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์
ในโรคเบาหวานประเภทนี้ คือ คุณแม่ป่วยเป็นเบาหวานอยู่แล้วก่อนแล้วก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อตัวคุณแม่เอง : อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ อาจถึงขั้นครรภ์เป็นพิษเลยก็ได้ คุณแม่อาจเกิดอาการบาดเจ็บจากการคลอดได้
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์ : ทารกแท้ง ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกพิการ คลอดยากเพราะขนาดตัวใหญ่ ปอดของทารกไม่พัฒนา ทารกมีภาวะแทรกซ็อนหลังการคลอด หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์
สำหรับคนที่เป็นเบาหวาน แต่อยากมีลูก ต้องทำยังไง?
1. ปรึกษาสูติแพทย์ เพื่อเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์
2. เมื่อตั้งครรภ์ควรไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์ทันที
3. ควรควบคุมปริมาณน้ำตาลให้ปกติ หรือใกล้เคียงกับค่าปกติที่สุด ก่อนมีการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก่อนการตั้งครรภ์ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือใกล้เคียงที่สุด
5. ควรทานสารโฟเลต กรดโฟลิค หรือวิตามินบี 9 ตามคำแนะนำของแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ 1 เดือน เพื่อลดการเกิดความผิดปกติของระบบประสาทและสมองของเจ้าตัวน้อยในครรภ์
หากคุณมีภาวะต่อไปนี้ ไม่ควรอย่างยิ่งแก่การตั้งครรภ์
1. มีค่าฮีโมโกลบินอิ่มน้ำตาลมากกว่า 10%
2. เบาหวาลงไตหรือขึ้นตา และเส้นเลือดหัวใจตีบหรือภาวะหัวใจขาดเลือด คุณอาจเสียชีวิตได้หากตั้งครรภ์
3. คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานและมีอายุมากกว่า 35 ปี
4. มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคไธรอยด์เป็นพิษ
2. โรคเบาหวานขณะมีการตั้งครรภ์
เกิดจากฮอร์โมนหลายชนิดที่สร้างจากรก มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ประกอบกับการรับประทานอาหารรสหวานมากขึ้น น้ำหนักตัวที่มากขึ้นจนทำให้มีไขมันมาสะสมในช่องท้องมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งไม่ได้มีการออกกำลังกายหลังการตั้งครรภ์ด้วย
ดูแลตนเองอย่างไร?
1. ควบคุมปริมาณอาหาร คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานทุกคนควรปรึกษานักโภชนากร เพื่อรับคำแนะนำอย่างถูกต้องโดยทั่วไปในการควบคุมอาหารคือ จำกัดปริมาณของอาหารให้เหลือประมาณ 1,800-2,500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน จำกัดคาร์โบไฮเดรต จำพวกข้าว แป้ง น้ำตาล ไม่เกินร้อยละ 40 ของอาหารอื่นๆ แบ่งการทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ ดีกว่า ทานมื้อใหญ่ทีเดียว และที่สำคัญควรงดอาหารที่มีรสหวาน ไม่ควรรับประทานผลไม้รสหวาน น้ำผลไม้กระป๋อง ข้าวขัดขาว ฯลฯ
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่มีอาการ เช่น ไม่เป็นโรคหัวใจ ไม่มีอาการความดันโลหิตสูง ไม่มีอาการครรภ์เป็นพิษ ไม่มีอาการน้ำคร่ำรั่ว เป็นต้น สามารถออกกำลังกายได้ เช่น การเดิน หรือเต้นแอโรบิกช้าๆ และที่สำคัญไม่ควรออกกำลังกายหักโหมจนร่างกายร้อน แนะนำให้ออกกำลังกายไม่เกิน 20-30 นาทีต่อครั้งต่อวัน
3. ใช้ยารักษาเบาหวาน ในกรณีที่คุณไม่สามารถที่จะควบคุมปริมาณน้ำตาลได้ คุณหมอจะแนะนำให้ใช้ยารักษาโรคเบาหวาน ซึ่งจะมีทั้งยาฉีดและยารับประทาน
4. ตรวจวัดระดับปริมาณน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
5. ควรมาพบคุณหมอและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ขอบคุณที่มาจาก : http://women.sanook.com/13117/
อ่านเรื่องอื่นเพิ่มเติม : http://women.sanook.com/mom-baby/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น