รายงานชิ้นใหม่ล่าสุดของสมาคมแพทย์กุมารเวชศาสตร์อเมริกัน (เอเอพี) ซึ่งเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุชัดเจนว่าสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่ว่าจะอายุครรภ์มากน้อยเพียงใด อาหารคนท้อง ต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดเด็ดขาด ไม่ว่าจะในปริมาณมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงต่อการสร้างผลกระทบในระยะยาวต่อทารกในครรภ์
เอเอ พีซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของแพทย์ด้านกุมารเวชศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ อเมริกา นำเสนอรายงานใหม่ดังกล่าวออกมา สืบเนื่องจากยังมีความเข้าใจผิดๆ ของผู้หญิงตั้งครรภ์จำนวนหนึ่งที่เชื่อว่าหากบริโภคแอลกอฮอล์ในระดับต่ำหรือ บริโภคในปริมาณน้อย จะไม่เป็นอันตรายต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ของตนเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด นอกจากนั้นในรายงานใหม่ดังกล่าวนี้ยังระบุด้วยว่าเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ทุกชนิดรวมทั้งเบียร์, ไวน์ และเหล้า ล้วนส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ทั้งสิ้น
คำแนะนำของเอเอพีก็คือ ผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ควรงดเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดทันที ในขณะที่ผู้ที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าก็ต้องยุติการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกรูปแบบในทันทีที่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์
แพทย์ หญิงเจเนท เอฟ. วิลเลียมส์ ศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชศาสตร์จากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเท็กซัส เมืองซานอันโตนิโอ สหรัฐอเมริกา หนึ่งในแพทย์ผู้เขียนรายงานฉบับใหม่ของเอเอพีดังกล่าว ระบุว่า แม้ว่ายังคงมีงานวิจัยใหม่ๆ บางชิ้นตีความผลการวิจัยว่าการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับต่ำ ไม่เป็นอันตราย แต่ทางเอเอพีไม่เชื่อถือในการตีความการวิจัยในทำนองดังกล่าว เพราะมีหลักฐานบ่งชี้มากมายที่แสดงถึงอันตรายของแอลกอฮอล์ต่อภาวะการตั้ง ครรภ์
นอกจากนั้น อันตรายของแอลกอฮอล์ต่อการตั้งครรภ์ยังมีงานวิจัยจำนวนมากที่สอดคล้องต่อ เนื่องกันมานานกว่า 30 ปี แสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว และยิ่งกรรมวิธีในการตรวจวัดผลกระทบละเอียดอ่อนมากขึ้น ผลการศึกษาใหม่ๆ ก็แสดงให้เห็นมากยิ่งขึ้นว่าแอลกอฮอล์ส่งผลกระทบที่ไม่มองไม่เห็นต่อทารกใน ครรภ์ จนเชื่อได้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุระดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเด็กเมื่อแรกคลอด และส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการพัฒนาของเด็กทารกในครรภ์
ศูนย์เพื่อการ ป้องกันและควบคุมโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ความผิดปกติของทารกแรกเกิดจากแอลกอฮอล์ดังกล่าวมีตั้งแต่ความผิดปกติที่เกิด ขึ้นกับหัวใจ, ตับ และกระดูก เช่นเดียวกับความสามารถในการได้ยินของเด็กทารกแรกเกิดอีกด้วย
ในรายงานของเอเอพีชี้ว่า มารดาที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ทำให้ทารกในครรภ์เสี่ยง ต่อการเกิดโรคในกลุ่ม "ฟีทัล แอลกอฮอล์ สเปกตรัม ดิสออร์เดอร์" (เอฟเอเอสดี) ซึ่งเป็นกลุ่มภาวะปัญหาทั้งในทางสภาพร่างกาย, พฤติกรรม และการเรียนรู้ของเด็กทารกอันเนื่องจากแอลกอฮอล์ ซึ่งแพทย์มักตรวจไม่พบในตอนแรกเกิด แต่จะส่งผลเมื่อคลอดแล้วและเจริญวัย อาจกลายเป็นเด็กที่พัฒนาช้า, มีปัญหาในการเรียนรู้ หรือมีปัญหาเชิงพฤติกรรม ที่จะกลายเป็นปัญหาระยะยาวของเด็กเรื่อยไปจนถึงวัยรุ่น
ปัญหาอาจเบาหรืออาจหนักหน่วงรุนแรง อาทิ ผลการเรียนต่ำ มีปัญหาสมาธิ มีปัญหาความจำ การตัดสินใจและทักษะเชิงภาษา เป็นต้น นอกจากนั้น การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ยังทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเป็นโรคในกลุ่ม "ฟีทัล แอลกอฮอล์ ซินโดรม" ซึ่งพบมากกว่าเพราะวินิจฉัยได้ง่าย เพราะแสดงออกให้เห็นเป็นความผิดปกติทางร่างกายเมื่อคลอดเนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระหว่างที่เป็นทารกในครรภ์นั่นเอง